ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้ประกอบการสวนอาหารในสถานการณ์ Covid -19 กรณีศึกษา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้ประกอบการสวนอาหารในสถานการณ์ Covid-19 และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้ประกอบการสวนอาหารในสถานการณ์ Covid-19 ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการสวนอาหารจำนวน 15 คน ใช้การสุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้ประกอบการสวนอาหารในสถานการณ์ Covid-19 จำเป็นต้องอธิบายชี้แนะเพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการทำงานอย่างเคร่งครัด พยายามกระตุ้นพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้ผู้ประกอบการสวนอาหารต้องติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของพนักงานให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐอย่างเคร่งครัด 2) แนวทางการการพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้ประกอบการการสวนอาหารในสถานการณ์ Covid-19 มีแนวทางการพัฒนาโดยการเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการสวนอาหารมีการจัดอบรมให้กับพนักงาน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ Covid-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2563). ผลกระทบ COVID-19 ทำธุรกิจอาหารอ่วม. เข้าถึงได้จาก http://www. ditp.go.th
ชลิตา บุญนภา. (2559). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและโอกาสของธุรกิจที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทัชชกร แสงทองดี. (2561). คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธ. วารสารวิจยวิชาการ, 1(3), 137-149.
ธนะชัย เชาว์พลกรัง และกาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2561). แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(1-2), 61-69.
ธนาคารกสิกรไทย. (2563). โควิด-19 ยืดเยื้อหนักร้านอาหารปรับอย่างไรในวิกฤตนี้. เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornbank.com
พัทธกานต์ อู่ทองมาก และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3. (น. 328-336). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ยุทธนาท บุณยะชัย. (2562). การเปรียบเทียบภาวะผู้นำและความพึงพอใจของผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของธุรกิจที่พักโรงแรมและร้านอาหารในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 27-42.
Hersey, P., & Blanchard, K. H (1988). Management of organization behavior: utilizing human resources. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.