พุทธจริยาการสอนสังคมศึกษาเพื่ออนุเคราะห์โลกอย่างบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสอน การเผยแผ่ หรือการสื่อสารคำสอนของพระพุทธศาสนาไปยังพุทธศาสนิกชนชาวโลกเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลกและเพื่อประโยชน์เกื้อกูล พบว่า พุทธจริยาการสอนสังคมศึกษาเพื่ออนุเคราะห์โลกอย่างบูรณาการของพระพุทธองค์ นับว่าเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเวไนยสัตว์บนโลกใบนี้ เป็นการเสียสละและการสร้างสรรค์พัฒนาให้เกิดความเจริญทางมโนธรรม และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมอย่างสันติวิธี เป็นสิ่งประเสริฐและสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นต้องมีจุดเริ่มต้นจากการประกาศพระศาสนา ถ้าหากบุคคลในสังคมมีรากฐานแห่งมโนธรรมที่ดี ก็เป็นกระบวนการที่ทำให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ได้ตลอดชีวิต ตั้งแต่การวางรากฐานการพัฒนาชีวิต ตั้งแต่แรกเกิด การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านอื่น ๆ ที่จะดำรงชีพ และประกอบสัมมาชีพได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลง และเป็นพลังสร้างสรรค์พัฒนาจิตใจได้อย่างยั่งยืนแบบวิธีการบูรณาการ คำว่าการสอนสังคมศึกษาก็คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพื่อพัฒนาให้มีความรับผิดชอบในสังคมประชาธิปไตย โดยเน้นมรดกทางวัฒนธรรม เนื้อหาและวิธีการที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอด อบรมในเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อนำไปประยุกต์แนวคิด ค่านิยม และทักษะต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และพฤติกรรมทางสังคม โดยอาศัยหลักสูตรวิชาสังคม ส่วนคำว่า “บูรณาการ” หมายความว่า การประสานเนื้อหา หลักการ กิจกรรม การฝึก ฯลฯ เข้าเป็นหน่วยเดียวกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ด้านทักษะต่างๆ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในวิชาเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2562). พุทธวิธีกับการสอนสังคมศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชรัตนมุนี (บุญเทียม ญาณินฺโท). (2557). พุทธวิธีการบริหารอย่างบูรณาการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2557). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.