การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ฐานิดา มั่นคง
วิไลวรรณ อิศรเดช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) พัฒนาและยกระดับสวัสดิการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชน และ 3) สร้างรูปแบบการสร้างเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่ใช้ในการศึกษา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดท่าโสม กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดกันทรอมใต้ และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดกันทรอมอุดม มีผู้ให้ข้อมูลหลัก อันประกอบด้วย พระสงฆ์ คณะกรรมการบริหารกลุ่มสัจจะฯ และสมาชิกกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 32 รูป/คน ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ร่วมระดมความคิดวิเคราะห์ ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมประเมินผล 2) การพัฒนาและยกระดับสวัสดิการของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ประกอบด้วย กระบวนการ 8 ขั้นตอน คือ การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม การเผยแพร่วิสัยทัศน์ร่วม การชักจูงให้สมาชิกเข้าร่วม การบริหารความขัดแย้ง การประเมินผล การจัดระบบงานที่ไม่ซับซ้อน และการสร้างแบบแผนการทำงาน และ 3) รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การประสานงานหน่วยงานกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่าย การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ และการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
มั่นคง ฐ. ., & อิศรเดช ว. . (2021). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 67–80. https://doi.org/10.14456/jra.2022.6
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: มาตราการและกลไกการป้องกัน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3), 1-30.

ปรีชา เบี้ยมุกดา. (2537). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาชนบท: ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีโครงการส่งเสริมการออมทรัพย์เพื่อการผลิต อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิตรพิบูล ไชยเมืองและคณะ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 44-52.

ไพฑูรย์ นิยมนา และคณะ. (2552). ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการสังคมระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอราษีไศล จังหวัดหวัดศรีสะเกษ. (รายงานการวิจัย). ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มาโนช มาละการ. (2551). กระบวนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชน: การสังเคราะห์งานวิจัยและการวิเคราะห์ เนื้อหา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาลีรัตน์ สุคโต. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยูสนานี สาเล็ง. (2554). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน: กรณีศึกษากองทุน ช่วยเหลือ ผู้เสียชีวิต ชุมชนเมาะสือแม อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รุ่งศิริ นุชสุวรรณ. (2553). ความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนวันละ 1 บาท ชุมชนวัดเชิงหวาย เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภาภรณ์ กล่ำสกุลและคณะ. (2561). รูปแบบการส่งเสริมการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการและวิจัยแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (น. 557-563). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี .

อภิญญา เวชยชัยและคณะ. (2549). ทิศทางและรูปแบบการจัดการสวัดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย แสงทอง. (2558). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 221-228.

Albert, M. and Hahnel, R., (2007). A Quit revolution in welfare economics. Retrieved from https://zcomm.org/wp-content/uploads/zbooks/www/books/quiet.htm

Daniel, H. V. (1996). Quality in American. Chicago: IRWIN Professional Publishing.

Goodman, K., (2007). Evaluating community-based welfare initiatives. Welfare Peer Technical Assistance Network.