การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4MAT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พรทิพย์ ศรีชูรัตน์
วีระ วงศ์สรรค์
ธนาดล สมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT กับการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT กับการเรียนรู้แบบปกติ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทำทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จำนวน 102 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทรโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.08 /87.18 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เท่ากับ 0.7666 คิดเป็นร้อยละ 76.66 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4MAT สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนเรื่องการหมุนของน้ำในมหาสมุทร โดยใช้ชุดการสอนวิทยาศาสตร์การเรียนรู้แบบ 4MAT มีความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านทุกด้านมากกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ศรีชูรัตน์ พ., วงศ์สรรค์ ว. ., & สมบูรณ์ ธ. . (2021). การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ 4MAT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 . วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 89–100. https://doi.org/10.14456/jra.2022.8
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย

เธียร พานิช. (2544). 4MAT การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

นูรมา อาลี. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปาริฉัตร ภู่ทอง. (2558). การพัฒนาชุดการสอนสำหรับครูโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนพัฒนาท่าจีน. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูษิต สุวรรณราช. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.

ศศิวิมล เสถียรเขต. (2558). ผลการใช้ชุดกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ 4MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น. (2543). วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ ดี เก่งมีสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: เอสอาร์ พริ้นติ้ง.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562. เข้าถึงได้จาก https://bet.obec.go.th/New 2020wp-content/uploads/2020/06/onet-p3m3m62562.pdf.

สุนันทา บ้านกล้วย. (2556). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 193-210.