ความสัมพันธ์ของกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ไทย

Main Article Content

พระมหาเสาร์คำ ธมฺมธีโร (ใส่แก้ว)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกฎหมาย รวมถึงการลงโทษ (นิคหกรรม) ทั้งในส่วนของคณะสงฆ์ และส่วนของฝ่ายบ้านเมือง ในมิติที่มีความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวเนื่องกัน อันปรากฏในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ภายใต้กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 11 พุทธศักราช 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม โดยเป็นการอธิบายถึงลักษณะ การนำมาปฏิบัติใช้ การนำกฎหมายมาบังคับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะความผิด และความเชื่อมโยงกันในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของระบบกฎหมาย รวมถึงโทษที่จะได้รับจากการกระทำผิดที่มีลักษณะเป็นความผิดเดียว กรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายฉบับ ทั้งในพระธรรมวินัย ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2535 และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 23 พุทธศักราช 2541 จึงนำมาสู่ระบบกฎหมายคณะสงฆ์ที่นำมาปฏิบัติใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบลายลักษณ์อักษร และคำสั่งทางการปกครองที่เรียกว่า คำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่อย่างไรก็ดีลักษณะการลงโทษ (นิคหกรรม) นั้น ก็ยังมีช่องว่างของกฎหมาย หรือการให้อำนาจแก่ฝ่ายบ้านเมืองมากอยู่พอสมควร จึงเกิดความเหลื่อมล้ำในการใช้กฎหมาย ส่งผลให้พระภิกษุที่ได้รับโทษจากช่วงว่างของกฎหมาย ไม่สามารถกระทำกิจของสงฆ์ได้ตามปกติ ทั้งนี้จึงมีการเสนอรูปแบบแนวทางการลงโทษที่ไม่ต้องสิ้นสุดลงด้วยการสละสมณเพศ เพื่อจุดประสงฆ์สำคัญที่จะปกครองคณะสงฆ์ให้เกิดความสงบเรียบร้อยและปฏิบัติกิจการของคณะสงฆ์ต่อไปได้ สามารถนำไปบังคับใช้ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภายในประเทศที่มีความแตกต่างหลายหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมทางสังคม ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถลดความอยุติธรรมที่เกิดกับการลงโทษพระภิกษุสงฆ์ให้น้อยลงได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
พระมหาเสาร์คำ ธมฺมธีโร (ใส่แก้ว). (2022). ความสัมพันธ์ของกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 235–248. https://doi.org/10.14456/jra.2022.72
บท
บทความวิชาการ

References

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 พุทธศักราช 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม.

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 พุทธศักราช 2541 ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์.

คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.ที.เพรส.

พระครูปลัดทะเล มหณฺณโว. (2553). บทบาทของพระวินยาธิการตามทัศนะของพระสงฆ์ในเขตพญาไท กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด : พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ช่อระกา.

พระมหาอุทัย นิลโกสีย์. (2544). กระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

“พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535”. (2535, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109, ตอน 106 ก. หน้า 5–11.

เพลินตา ตันรังสรรค์. (2553). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชน. จุลนิติ, 7(3), 54-62.

สมชาย บุญคงมาก และภูภณัช รัตนชัย. (2562). ปัญหาการสละสมณเพศของพระภิกษุ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 : ศึกษากรณี การใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 6(2), 11-26.