“การนิเทศการศึกษา” หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า สังคมโลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือที่เราเรียกว่า “VUCA World” รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนส่งผลให้เกิดวิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย มนุษย์ในยุคปัจจุบันจึงต้องมีความพร้อมในรับมือกับความผันผวนเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครูจะต้องปรับวิธีคิดเปลี่ยนการสอนปรับบทบาทจากเดิมที่ครูเป็นศูนย์กลางของความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกคอยชี้แนะเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง สอนเนื้อหาน้อยลงให้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้มากขึ้น เนื่องจากเมื่อผู้เรียนเป็นผู้รับฟังจากครูฝ่ายเดียว ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้น้อย แต่ถ้าผู้เรียนได้ปฏิบัติลงมือทำด้วยตนเองผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้แบบคงทนถาวร วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน คือ การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติและการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย ดังนั้นการนิเทศการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการร่วมมือทางวิชาการระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ จะเป็นตัวช่วยหนึ่งในการกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและช่วยเหลือครูให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีความทันยุคทันสมัยอยู่เสมอและสามารถตอบสนองผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ นอกจากนั้นยังจะต้องส่งเสริมผู้เรียนเกิดการเรียนด้านความรู้ ทักษะหรือกระบวนการและคุณลักษณะหรือเจตคติจนผสมผสานกันออกมาเป็นสมรรถนะของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธารอักษร.
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2555). การนิเทศในสถานศึกษา. เข้าถึงได้ จาก https://mystou.files.word press.com/2012/02/23503-8-t.pdf
ขวัญใจ เตชเสนสกุล. (2562). เวียดนามกับการก้าวขึ้นแท่นฐานการผลิตสำคัญของโลก. การเงินธนาคาร, 447, 155-157.
ชวลิต จันทร์ศรี. (2556). การนิเทศภายในโรงเรียน. เข้าถึงได้จาก http://supervisor-teacher
.blogspot.com/2013/07/blog-post_4.html
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
ภัณฑิรา สุปการ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรพล ดิลกทวีวัฒนา. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.
ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน. เข้าถึงได้จาก www.sasimasuk.com /15848561/ การคิดเชิงวิเคราะห์-5-ขั้นตอนanalytical-thinking
ศิริวรรณ ลี้กิจเจริญผล. (2559). การนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจินต์ ภิญญานิล และคณะศึกษานิเทศก์. (2561). การนิเทศ ติดตาม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APDER. สุราษฎร์ธานี: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2554). กระบวนการในการจัดการนิเทศการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https:// panchalee.wordpress.com/2009/03/30/process/
Aggarwal, S. P. (1967). Inventory control aspect in warehouses. New Delhi: Indian National Science Academy.
Glatthorn, A.A. (1984). Differentiated Supervision. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum.
Glickman, C.D. (1981). Developmental Supervisor: Alternative Practices for Helping Teachers Improve Instruction. Washington D.C.: Development.
Goldhammer, R., Anderson, R.t H. and Kajewski, R. J. (1980). Clinical Supervision: Special Methods for the Supervision of Teachers. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Harris, Ben M. (1985). Supervisory Behavior in Education. New Jersey: Prentice-Hall. Supervision and Curriculum Development.