ปัญหาการตีความเกี่ยวกับเหตุจำกัดสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

ธนโรจน์ หล่อธนะไพศาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การตีความรัฐธรรมนูญ สิทธิและเสรีภาพ 2) ศึกษาหลักการจำกัดสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย และ 3) ศึกษาปัญหาที่เกิดจากการตีความเหตุจำกัดสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญของไทย เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร รวบรวมข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาหลักการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วนำมาวิเคราะห์การตีความจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญไทยโดยนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ คือ การแสดงออกถึงเจตจำนงปวงชนในการปกครองตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนจากการใช้อำนาจของรัฐและผู้อื่น การตีความเหตุจำกัดสิทธิเสรีภาพจึงต้องให้สอดคล้องกับเจตจำนงปวงชน 2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีเจตนารมณ์ในการรับรองสิทธิเสรีภาพโดยขยายสิทธิเสรีภาพให้กว้างมากขึ้น การตีความของศาลรัฐธรรมนูญไทยในการจำกัดสิทธิเสรีภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะสามประการคือความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และ 3) การตีความเหตุจำกัดสิทธิเสรีภาพของศาลรัฐธรรมนูญไทยใช้วิธีการตีความหลายวิธีโดยผลการตีความส่วนใหญ่สอดคล้องกับหลักสากลและเป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ แต่มีปัญหาสำคัญ คือ ขาดการอธิบายถึงความชอบธรรมในการใช้วิธีการตีความนั้น และขาดการให้เหตุผลทางกฎหมายที่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ

Article Details

How to Cite
หล่อธนะไพศาล ธ. (2021). ปัญหาการตีความเกี่ยวกับเหตุจำกัดสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 177–192. https://doi.org/10.14456/jra.2022.14
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2549). แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของชน ชาวไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า.

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2551). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย: ความเป็นมาและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พิชัยศักดิ์ หรยางกูร และณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์. (2563). หน่วยที่ 2 หลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน. เข้าถึงได้จาก http: www.stou.ac.th›slw›ex.40701-2.pdf

วิโรจ นาคชาตรี. (2550). ปรัชญาว่าด้วยความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

หยุด แสงอุทัย. (2513). แนวคำถามคำตอบรัฐธรรมนูญทั่วไปและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

อุดม รัฐอมฤต นพนิธิ สุริยะ และบรรเจิด สิงคะเนติ. (2544). การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Aleinikoff, T. A. (1987). Constitutional law in the age of balancing. The Yale law journal, 96(5), 943-1005.

Bobbitt, P. (1991). The modalities of constitutional argument: Constitutional Interpretation in Modern constitutional theory a reader. (4th edition). Minnesota: West group.

Kalscheur, G. (2006). Moral Limits on Morals Legislation: Lessons for U.S. Constitutional Law from the Declaration on Religious Freedom. Southern California Interdisciplinary Law Journal, 16(Fall), 1-48.

Kaplin, William A. (1990). The Process of Constitutional Interpretation: A Synthesis of the Present and a Guide to the Future, Rutgers law review, 42, 983-1021.

Lutz, D. (2006). Principles of Constitutional Design. Cambridge: Cambridge University Press.

Murrill, B.J. (2018). Modes of Constitutional Interpretation. New York: Congressional Research Service.

Myerson, D. (2007). Why courts should not balance rights against the public interest. Melbourne University Law Review, 31, 873-902.

Post, Robert C. (1990). Theories of constitutional interpretation. Representations Special Issue: Law and the Order of Culture, 30(Spring), 13-41.

Raz, J. (1975). Practical Reason and Norms. Oxford: Clarendon Press.