แนวทางการสื่อสารทางการเมืองเพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการสื่อสารทางการเมืองเพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 23 รูปหรือคน และ สนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูปหรือคน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสื่อสารทางการเมืองเพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย นำหลักการนำหลักสาราณียธรรม 6 ประการ มาใช้กับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา ในด้านผู้ส่งสาร ต้องมีคุณธรรม รอบรู้ รับฟังภาษาที่เข้าใจง่าย เข้าใจบริบทของผู้รับสาร สามารถถ่ายทอดด้วยน้ำเสียงที่จริงใจ ต้องมีกลยุทธ์ มีประสบการณ์ในการสื่อสาร ด้านสาร เนื้อหาสาระของสื่อต้องเป็นธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใด ข้อมูลต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เข้าใจง่าย ข้อมูลต้องเป็นประโยชน์ต่อสวนรวม ด้านช่องทางการสื่อสาร สื่อออนไลน์ ผ่านบุคคลใกล้ชิด ประชุมร่วมกัน จัดกิจกรรม มีคุณธรรม กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีช่องทางให้เลือก ลดความขัดแย้ง มีประสิทธิภาพสูงต่อประชาชน ด้านผู้รับสาร ต้องเป็นกลาง มีจิตที่คิดบวก แสวงหาความรู้ทุกด้าน วิเคราะห์ข่าวสาร มีสติ มีองค์ความรู้ ต้องมีกัลยาณมิตร หลักสาราณียธรรม ไม่ทำร้าย วาจาสุภาพ คิดดี แบ่งปัน ช่วยเหลือ เคารพกฎกติกา มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โคทม อาริยา. (2558). การปรองดองในสังคมประชาธิปไตยไทย ดุลอำนาจในการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
นิเทศ สนั่นนารี. (2561). การสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 159-178.
ปราณี สุรสิทธิ์.(2561). รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ของผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 7(1), 57.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2562). ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครบรอบ 1 ปี (12 กันยายน 2557-12 กันยายน 2558). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์. (2561). พุทธวิธีเชิงบูรณาการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการเมืองไทยปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(2), 66-67.
Lasswell, Harold D. (1984). The Structure and Function of Communication in Society. The Communication of Idea. New York: Harper and Row Publishers.