การสร้างแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

Main Article Content

ปาลิดา อิธิตา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปีการศึกษา 2563 ห้อง 1 จำนวน 20 คน เลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 สัปดาห์ รวม 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดความสามารถในการการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) และการทดสอบค่าที ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนตามมาตราตัวสะกดของนักเรียน จำนวน 8 มาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 93.34/89 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนตามมาตรตัวสะกด จำนวน 8 มาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
อิธิตา ป. . (2021). การสร้างแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 217–230. https://doi.org/10.14456/jra.2022.17
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติคุณ รัตนเดชกำจาย. (2542) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับสอนโดยวิธีปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กุศยา แสงเดช. (2545). แบบฝึกคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทสานักพิมพ์แม็ค จำกัด.

ขวัญทอง จันทฤทธิ์. (2542). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการสะกดคำและแจกลูกชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณาจารย์สมานมิตร. (2547). หลักการสอนภาษาไทยสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. (2550). แบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

นีรชา แดงกองโค. (2551). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่าน การเขียนสะกดคำ สระเสียงสั้น สระเสียงยาว. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เนาวรัตน์ ชื่นมณี. (2540). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก เรื่อง เป็ดหาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประวีณา เอ็นดู. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมบัติ พลอยศรี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำผสมในแม่ ก.กา. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใยไหม เอดดูเคท.