การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลวิธี SCPC ร่วมกับโปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน Animation สำหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี SCPC 2) เปรียบเทียบทักษะด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกลวิธี SCPC ร่วมกับโปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน Animation เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยเชิงทดลองใช้การทดสอบนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียน และดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ รวม 16 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบนักเรียนหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบชุดเดิม แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมินการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ รวมไปถึงแบบวัดความพึงพอใจไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการในการพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กลวิธี SCPC ร่วมกับโปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน Animation ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.96 2) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้กลวิธี SCPC ร่วมกับโปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน Animation หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกลวิธี SCPC ร่วมกับโปรแกรม Scratch ในการสร้างการ์ตูน Animation มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.21
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จงกล เดชสุวรรณ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชา การเขียนโปรแกรม Scratch สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา. (รายงานการวิจัย). กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์): โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิศึกษา.
จงกล วจนะเสถียร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2545). คู่มือการเขียนและจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
มานพ ถนอมศรี. (2546). การเขียนหนังสือ สารคดี บันเทิงคดี สาหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สิปประภา.
สมพร มันตะสูตร. (2525). การเขียนสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มารมีการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2559). การเขียนเชิงสร้างสรรค์. อุดรธานี: พิมพลักษณ์.
อนุรักษ์ ไชยฮั่ง. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อ ความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์และเมตาคอกนิชันในการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา ชุมภู. (2557). การพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกคิดและเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลเถิน (ท่านางอุปถัมภ์). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Davis, K. W., Perry, R. J. and Braun, G. (2011). Suggest-Choose-Plan-Compose: A Strategy to Help Students Learn to Write. The Reading Teacher, 64(6), 451-455.