ศึกษาวิเคราะห์เปรตในสังคมไทย

Main Article Content

พระประพันธ์ ชาตเมโธ (สีผึ้ง)
ศิริโรจน์ นามเสนา
พระศรีสมโพธิ (วรัญญู วรญฺญู)

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของเปรตในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 2) วิเคราะห์ความเชื่อเรื่องเปรตในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์เอกสาร พระไตรปิฎกเป็นหลัก และเอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือ ตำราและผลงานทางวิชาการ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นมาของเปรตในพระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงความเกี่ยวข้องซึ่งประกอบไปด้วย นรก ปิตติวิสัย อสูรกาย และติรัจฉาน สำหรับภูมิเปรตนั้น ที่ปรากฏอยู่ในพระสูตร อรรถกถาและคัมภีร์ต่าง ๆ  ได้จำแนกประเภทของเปรตออกเป็น 37 ประเภท แต่มีเปรตจำพวกเดียวเท่านั้นที่สามารถรับส่วนบุญจากญาติได้ ด้วยการอนุโมทนาในส่วนบุญนั้น คือ “ปรัตตูชีวีวิกเปรต” หรือ“ปรัตทัตตูปชีวีตเปรต” เปรตเหล่านี้มีรูปร่างและลักษณะการเสวยทุกข์เวทนาจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมการกระทำของแต่ละบุคคล และ 2) ความเชื่อเรื่องเปรตในสังคมไทย เป็นความเชื่อของผลกรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรตกรรมนั้นบันดาลให้เกิดเป็นเปรต กรรมชั่วที่เปรตแต่ละตนได้ทำมีลักษณะไม่เหมือนกัน การที่มนุษย์จะเกิดมาเป็นเปรตก็ตามแต่บาปกรรมที่ได้กระทำไว้บนโลกมนุษย์เปรตจะมีลักษณะน่าเกลียดน่ากลัว ทั้งนี้ เพราะความแตกต่างของผลกรรมชั่วที่เปรตแต่ละตนได้ทำไว้ เรื่องเปรตนั้นถือว่าได้เตือนสติของประชาชนและพยายามปลูกฝัง เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นที่จะประพฤติตนตามหลักธรรมเพื่อให้เกิดผลแห่งความสุขแก่ตนอิทธิพลดังกล่าวยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญมั่นคง การสร้างรูปปั้นเปรตในลักษณะต่าง ๆ ของวัดในอำเภอเมืองจังหวัดพิจิตรเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งในการแสดงให้แก่ประชาชนที่พบเห็นจะได้เกิดความเกรงกลัวต่อบาปที่จะทำให้เป็นเปรตในสัมปรายภพได้เป็นอุทาหรณ์สอนตนเองและเยาวชนต่อไป

Article Details

How to Cite
พระประพันธ์ ชาตเมโธ (สีผึ้ง), นามเสนา ศ. ., & พระศรีสมโพธิ (วรัญญู วรญฺญู). (2022). ศึกษาวิเคราะห์เปรตในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 13–24. https://doi.org/10.14456/jra.2022.80
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

หลวงปู่ขาว อนาลโย. (2546). โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔. กรุงเทพฯ: บริษัท พี เอ ลิฟวิ่ง จำกัด.

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต. (2546). โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔. กรุงเทพฯ: บริษัท พี เอ ลิฟวิ่ง จำกัด.

พระมหาสันติ อุนจะนำ. (2541). การศึกษาหลักคำสอนเรื่องเปรตในพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ความเชื่อ และการปฏิบัติในวันสารทเดือนสิบของชาวพุทธ: ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณี “การชิงเปรต” ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ “การตานก๋วยสลาก” ในจังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหาอุทิศ ศิริวรรณ. (2535). เปรตในพระไตรปิฎก. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.