การประยุกต์ใช้โคกหนองนาโมเดลของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พระนพดล สุทิธมฺโม (มูลทาดี)
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประยุกต์ใช้โคกหนองนาโมเดลของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า การนำหลักธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ มาประยุกต์ใช้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงให้ไว้กับชาวเกษตร ทำให้การดำเนินชีวิตของชาวเกษตรกร ทั้งในระดับครอบครัว ในระดับชุมชน ในระดับสังคม และในระดับสากล มีความสุขและดีขึ้นตามลำดับ โดยการนำหลักของเกษตรทฤษฎีใหม่มาผสมผสานกับแนวความคิดเดิม และได้นำหลักธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตขยันหมั่นเพียรจึงทำให้ผลผลิตของชาวเกษตรมีคุณภาพและเพิ่มขึ้น 1) ระดับครอบครัว สุขเกิดจากการมีทรัพย์ รู้จักบริหารจัดการทรัพย์สินเงินทองที่หาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์สู่งสุด อยู่อย่างพอเหมาะพอดีไม่กู้หนี้ยืมสิน ความสุขของดำเนินชีวิตของมนุษย์ และจะบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้ตั้งไว้ นอกจากตัวเองจะได้ประโยชน์จากการมีทรัพย์ สังคมส่วนรวมทั้งที่เป็นชาติและศาสนาก็ย่อมได้รับประโยชน์ด้วย 2) ระดับชุมชน สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค อาหารเป็นหนึ่งของปัจจัย 4 เมื่อครอบครัวมีมากพอแล้วก็แบ่งปันแก่ชุมชนโดยการแจกจ่ายเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดความมีมนุษย์สัมพันธ์ในชุมชนเกิดความสมัครสมานสามัคคีทำให้ชุมชนเข้มแข็ง 3) ระดับสังคม สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ผลผลิตที่ได้จากการนำหลักทฤษฎีใหม่มาใช้ ทำให้เกษตรเกิดการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ชุมชน เพื่อนำผลผลิตมาแปรรูปเป็นสินค้า OTOP จำหน่ายประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอทำให้เกิดรายได้ของชาวเกษตรโดยไม่มีหนี้สิน 4) ระดับสากล สุขเกิดจากการประกอบอาชีพที่ปราศจากโทษ เป็นความสุขของชาวเกษตรที่ได้ทำงานที่ตนเองชอบเป็นอาชีพที่บรรพบุรุษได้ทำสืบต่อกันมาและเป็นผลผลิตที่ปลอดภัยไม่มีสารพิษจากยาฆ่าแมลงเพราะว่าเกษตรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากซากพืชผสมกับน้ำหมักชีวภาพ จึงทำให้ผลผลิตที่จำหน่ายออกไปเป็นที่ยอมรับของลูกค้าและได้รับมาตรฐานสากลจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้มีออเดอร์การสั่งสินค้าตลอดทั้งปี

Article Details

How to Cite
พระนพดล สุทิธมฺโม (มูลทาดี), & นามเสนา ศ. . (2022). การประยุกต์ใช้โคกหนองนาโมเดลของอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 271–284. https://doi.org/10.14456/jra.2022.100
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ทฤษฎีใหม่ในหลวง ชีวิตทีพอเพียง. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน.

ถวิล ยวงเงิน. (2564, 15 มิถุนายน). การทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลกันจุ. (พระนพดล มูลทาดี, ผู้สัมภาษณ์).

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2541). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด.

ภูมิน ราชกิจกับพัชรี ราชกิจ. (2564 , 24 กรกฎาคม). การทำปุ๋ยอินทรีย์และยาฆ่าแมลงจากพืชสมุนไพรของตำบลซับชมพู. (พระนพดล มูลทาดี, ผู้สัมภาษณ์).

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันชัย วงษา และคณะ. (2563). ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ศาสตร์พระราชา ความสุขอย่างยั่งยืน ลองปรับใช้ไม่จนแน่นอน. (พระนพดล มูลทาดี, ผู้สัมภาษณ์).

วีระพงษ์ กันเดิน และพัชราภรณ์ กันเดิน. (2564, 26 กรกฎาคม). การให้ความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาของตำบลซับกะโซ้. (พระนพดล มูลทาดี, ผู้สัมภาษณ์).

สมควร กิตติกร และวรรณา กิตติกร. (2564, 20 กรกฎาคม). การแบ่งพื้นที่ตามหลักการทฤษฎีใหม่ของตำบลซับสมบูรณ์. (พระนพดล มูลทาดี, ผู้สัมภาษณ์).

สามารถ บุญพรม และกรุณา บุญพรม. (2564, 22 กรกฎาคม). การปรับพื้นที่ต่ำทำสระน้ำของตำบลพญาวัง. (พระนพดล มูลทาดี, ผู้สัมภาษณ์).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_ 20160323112418.pdf

สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560). โคกหนองนาโมเดล. เข้าถึงได้จาก http://www. phetchabun.go.th/download_detail.php?did=1223