แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ภายใต้สถานการณ์ COVID 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษา ในศตวรรษที่ 21 พบว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งที่กล่าวถึงกันมาอย่างมากมายในวงการการศึกษาสมัยใหม่และปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศต่างก็มีความมุ่งมั่นและพยายามยกระดับการศึกษามหาวิทยาลัยให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบสนองกับวิถีการพัฒนาของโลกที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันและในอนาคตและเป็นการศึกษาที่เน้นการจัดการเรียนรู้โดยเน้นนิสิตนักศึกษาเป็นสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามความสนใจ ความสามารถและความถนัดของนิสิตนักศึกษา โดยใช้กระบวนการคิดและการทำงานแบบร่วมมือ รวมถึงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แยกแยะข้อมูลที่เหมาะสม สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การปรับเปลี่ยนบทบาทของครูอาจารย์ผู้สอน จากการเป็นผู้สอนและป้อนความรู้ ให้กลายเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง โดยใช้การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการวัดผลที่หลากหลายสอดคล้องกับศักยภาพของนิสิตนักศึกษาแต่ละคน แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สถาบันการศึกษางดจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทุกสถาบันการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการปรับการเรียนการสอนเป็นทางออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ. เข้าถึงได้จาก http://www.ptnpeo.moe.go.th/ ptn2019/edupdate/4950/
ชมรมสภาปฏิรูปการศึกษาไทย. (2559) การปฏิรูปการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก http://drive. google.com/file/d/0B34N3ZztNOkkTk90M2MzSlQxOTA/edit
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์คามรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2555). สร้าง “ทักษะ” ให้ผู้เรียนพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. School in focus. 4(11), 6-7.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภูมิศรัญย์ ทองเลี่ยมนาค. ผลกระทบ COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.kenan-asia.org › covid-19-education-impact
รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), 1-5.
วิจารณ์ พานิช. (2558). แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สยามรัฐออนไลน์. (2564). ผลกระทบโควิดส่อระบบการศึกษาไทยทรุดหนัก-รั้งท้ายในเอเชียตะวันออก. เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/277833
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. (2559). การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=367EirEijRc
อดุลย์ วิริยเวชกุล. (2542). การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.
Singh, R.R. (1991). Education for the Twenty-first Century: Asia-Pacific Perspectives. Procedding of Regional Symposium on Qualities Required of Education Today to Meet the Foreseeable Demands of the Twenty-first Century. (pp. 79-83). Bangkok: Thailand.