แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ภาวิณี วัฒนพรหม
วินัย ทองมั่น
วรกฤต เถื่อนช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืน และ 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน รองผู้อำนวยการ ครูหัวหน้าฝ่าย และครูผู้สอน จากโรงเรียนเอกชนภายในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 36 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 786 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 266 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความทนทาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความยุติธรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการกระจาย และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ผู้บริหารควรชี้แจงให้ครูและบุคลากร ที่บรรจุเข้าทำงานใหม่เข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญของหลักการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรอธิบายถึงผลที่ได้รับจากการอบรม ควรให้ครูได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลดีของการมีส่วนในความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ควรให้ครูและบุคลากร ได้วิเคราะห์ตนเองถึงภาระงานที่ปฏิบัติอยู่ ทั้งคุณวุฒิของตนเองและเพศ ส่งเสริมให้ครูรู้จักการลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายงบประมาณ ควรสร้างแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบตามแนวทางที่โรงเรียนได้วางเป้าหมายการบริหารไว้

Article Details

How to Cite
วัฒนพรหม ภ., ทองมั่น ว. ., & เถื่อนช้าง ว. . (2022). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบยั่งยืนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 179–192. https://doi.org/10.14456/jra.2022.67
บท
บทความวิจัย

References

ทิวากานต์ ศรีสวัสดิ์ และกนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 57-64.

นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง แมงกานจิ. (2550). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พา อักษรเสือ และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2562). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตมหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 634-644.

รุ่ง แก้วแดง. (2563). โรงเรียนเอกชน : แม้จะอยู่ด้วยใจรัก แต่ก็ต้องสวมวิญญาณนักบริหารชั้นเซียน. เข้าถึงได้จาก http://info.gotomanager.com/news/ details.aspx?id=7900.

วิไลภรณ์ เตชะ. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกำแพงเพชร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2562-2565. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/.supervisorkhonkaenpeo/nyobay.

สุกฤตา บัวนาค. (2563). การบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จโดยมีองค์ประกอบ 5 ด้าน. เข้าถึงได้จาก https://sukritab.wordpress.com/2013/10/06.

อภิญญา แก้วชื่น. (2549). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.