แนวทางการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และ 2) หาแนวทางการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้บริหาร ข้าราชการครู พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง ในโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 805 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดย โดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มีดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจให้กับครูและบุคลากรในโรงเรียน ถึงเหตุผลและความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในสถานศึกษา 2) ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารควรมีการประชุมชี้แจงถึงสาเหตุที่จำเป็นต้องมีการการจัดการเรียนรู้ร่วมกับท้องถิ่น ควรสร้างความตระหนักให้ครูได้เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในการนำท้องถิ่นมาเป็นส่วนช่วยในการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการประเมินผลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารควรชี้แจงให้ครูมีความเข้าใจสาเหตุที่ต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการปรับปรุงการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจ และสร้างความตระหนักรู้ให้กับครูและบุคลากร ถึงสาเหตุและความจำเป็นในการเผยแพร่ผลงานการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561) แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงได้จาก http://www.bpp.mua.go.th/main/download/plan /EducationPlan12.pdf
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2564) นโยบายส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Information/2017-02-06-PolicyTeach erwisdom.pdf
จิราภรณ์ ขยัน. (2558). การศึกษาบทบาทการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นิชานันท์ ตันสุริยา (2558). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พระมหาจรูญ อภิธมฺมจิตฺโต และคณะ. (2564). รูปแบบการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 54-65
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1.
มาลี แววเพ็ชร. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2(2), 39-46.
วันทนีย์ ใจเฉพาะ. (2562). แนวทางการบริหารจัดการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศรีจันทรัตน์ กันทะวัง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวการสอนเชิงประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(1), 1-14.
สายสุดา เตียเจริญ และคณะ. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.