แนวทางการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

บุญธิดา แก้วทอง
วรกฤต เถื่อนช้าง
วินัย ทองมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ และ 3) หาแนวทางการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 118 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 มีดังนี้ 3.1) ด้านการสื่อสาร ผู้บริหารควรมีการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการรับรู้และปฏิบัติตรงกัน 3.2) ด้านการรู้เท่าทันตนเอง ผู้บริหารควรจัดให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับจุดเด่นและจุดด้อยของตนเองเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน 3.3) ด้านการยอมรับตนเอง ผู้บริหารควรยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากตนเอง 3.4) ด้านการจูงใจ ผู้บริหารควรให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน การรู้จักพูดเชิงบวก เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การจัดให้มีสวัสดิการอย่างเหมาะสม 3.5) ด้านการเปิดเผยตนเอง ผู้บริหารควรปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม รู้จักการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ครูและบุคลากรด้วยความเป็นกัลยาณมิตร 3.6) ด้านความไว้ใจ ผู้บริหารควรให้ความไว้วางใจในการมอบหมายงานตามศักยภาพของบุคลากรด้วยปริมาณที่เหมาะสม 3.7) ด้านการจัดการความขัดแย้ง ผู้บริหารควรรับฟังทุกฝ่ายอย่างเข้าใจและเป็นกลาง

Article Details

How to Cite
แก้วทอง บ., เถื่อนช้าง ว., & ทองมั่น ว. . (2022). แนวทางการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 131–146. https://doi.org/10.14456/jra.2022.64
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-25579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กิจจา บานชื่น. (2560). มนุษยสัมพันธ์กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ขุนทอง สุขทวี และคณะ. (2562). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(2), 35-44.

ธีรวัชร แสงจง และคณะ. (2562). การศึกษามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 163-177.

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 29-48.

แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษาบริษัทยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รดาชม พรมนิวาส. (2561). รูปแบบภาวะผู้นำแห่งตนและทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้นำที่ส่งผลต่อความเหนียวแน่นของทีมงาน. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ลักขณา กำแพงแก้ว.(2564) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการมีมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากร ในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 17-33.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. (อัดสำเนา).

อำนวย เดชชัยศรี และสุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. (2560). ทักษะการบริหารมนุษยสัมพันธ์ตามแนวพุทธ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 49-64.

Yasir, A., Muhammed, Ö. and Mustafa, S. (2020). School Principals and Human Relations = Okul Müdürü ve Insani Iliskiler. Educational Administration: Theory & Practice, 26(1), 1-58.