การสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนเขต อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

พระอธิการแสงอารุณ ชยาภินนฺโท (อ้อยผดุง)
พระครูโสภณปริยัติสุธี
สหัทยา วิเศษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 2) ศึกษากระบวนการสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และ 3) นำเสนอการ
บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ใช้การวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 45 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) เครือข่ายสังคมออนไลน์เกิดจากความก้าวหน้าของระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดเครือข่ายสังคมใหม่ที่รู้จักกันแพร่หลายว่า ที่ผ่านมาการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพะเยา มีพรรคการเมืองและนักการเมืองได้ใช้สังคมออนไลน์เพื่อสื่อสารทางการเมืองผ่านเฟสบุ๊ค ไลน์ และอินสตราแกรม โดยผู้สมัครโพสต์ข้อความประวัติส่วนตัว นโยบายพรรคผ่านไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อให้เลือกตนเองเป็นผู้แทนของตน 2) กระบวนการสื่อสารทางการเมือง โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์เป็นสังคมที่กว้างขวาง และมีความรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารออกไปนั้น หากไม่ตรวจสอบของแหล่งที่มาของข้อมูลอาจทำให้ข้อมูลข่าวสารนั้นบิดเบือนจากข้อเท็จจริงได้ และ 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยานั้น ได้ใช้หลักธรรมโยนิโมมานสิการ กับหลักธรรมปรโตโฆสะ ในการสื่อสารทางการเมือง ซึ่งการสื่อสารทางการเมืองนั้นมีทั้งกลุ่มนักการเมืองที่หวังผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง หากผู้รับข้อมูลข่าวสารไม่มีการพิจารณาหรือไตร่ตรองให้ดีอาจตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนเหล่านี้ ดังนั้นรัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนผู้รับข้อมูลข่าวสาร มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เนื้อหาข้อมูลข่าวสารโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมตามวิถีการดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ

Article Details

How to Cite
อ้อยผดุง พ., พระครูโสภณปริยัติสุธี, & วิเศษ ส. . (2022). การสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนเขต อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2022.53
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

จันจิรา สมบัติพูนศิริ. (2563). ปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรง ภาคประชาสังคม และประชาธิปไตย. เข้าถึงได้จาก https://www.nonviolent-conflict.

ดารารัตน์ คำเป็งและคณะ. (2563). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นันทนา นันทวโรภาส. (2557). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: แมสมีเดีย.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2552). การประชาสัมพันธ์ทางการเมือง (Political public relations). (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว). (2556). การศึกษาพุทธจริยธรรมกับการสื่อสารทางการเมือง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.

วิยะดา ฐิติมัช. (2554). เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม. วารสารนักบริการ, 30(4), 150-156.

ศรัญญา ไชยวรรณ. (2554). สื่อใหม่ในสังคมการเมืองไทย กรณีศึกษาเฟซบุ๊ควอยส์ทีวี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล. (2555). การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรมการเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ พ. ศ.2553-2555. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา). คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.