การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ธนานนท์ แสงทองทาบ
ปฏิธรรม สำเนียง
พระมหาอุดร อุตฺตโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) หาแนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครจซี่ และมอร์แกน จำนวน 167 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว หาแนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ต่างกัน มีระดับความคิดเห็น แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ และตำแหน่งต่างกัน มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 มีดังนี้ ด้านการเข้าใจตนเอง ผู้บริหารควรศึกษาบทบาท หน้าที่ของตนให้เข้าใจ นำคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมดำเนินการ ยึดหลักประโยชน์สุขของสังคมหรือชุมชน ด้านการเข้าใจผู้อื่น ผู้บริหารควรรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อยอมรับหรือปฏิบัติต่อบุคคลตามความแตกต่าง ควรจัดฝึกอบรมความรู้ ทักษะ ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านการมีสภาพแวดล้อมที่ดี ควรพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อเรียนรู้


 

Article Details

How to Cite
แสงทองทาบ ธ., สำเนียง ป. ., & พระมหาอุดร อุตฺตโร. (2022). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารกับชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 117–130. https://doi.org/10.14456/jra.2022.63
บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณมิตร เพื่อนแท้สำหรับคุณ. (2560). หลักสาราณียธรรม 6. เข้าถึงได้จาก https://kalyana mitra.org/th/article_detail.php?i=15409

กาญจนา พิมพ์สุข. (2556). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 1342-1354.

ณฐา แย้มสรวล. (2559). การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อเสริมสร้างความปรองดองในการปฏิบัติงานวิชาชีพพยาบาลในโรงพยาบาลบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(1), 49-58.

นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรีชา บุญยัง. (2556). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยม ศึกษา ในอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ปัทมาพร แสงแจ่ม. (2559). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนวัดพวงนิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, กรกฎาคม 22). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 45 ก, หน้า 1-2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.