แนวทางการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

อภิสิทธิ์ พรหมศิริ
อานนท์ เมธีวรฉัตร
วินัย ทองมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและหาแนวทางการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .89 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสัดส่วน และการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 254 คน สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกเฉพาะเจาะจงจำนวน 9 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.29, S.D. = 0.61) โดยมีการปฏิบัติมากที่ที่สุดคือ ด้านการควบคุมดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม (gif.latex?\bar{X} = 4.35, S.D. = 0.59) 2) แนวทางการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ 2.1) หลักอุฏฐานะสัมปทา ผู้บริหารควรมีการวางแผนในการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสร้าง การใช้งาน การควบคุม การบำรุงรักษา และกำหนดกรอบตัวชี้วัดวิธีการเพื่อใช้ในการประเมินผล 2.2) หลักอารักขสัมปทา ผู้บริหารควรรักษามาตรฐานในการดำเนินงาน หมั่นคอยตรวจสอบการจัดสร้าง การใช้งาน การควบคุม การบำรุงรักษา และติดตามประเมินผลการใช้งานให้เป็นปัจจุบัน 2.3) หลักกัลยาณมิตตตา ผู้บริหารควรประสานขอความร่วมมือจากชุมชนร่วมกันดำเนินงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในเรื่องการจัดสร้าง การใช้งาน การซ่อมบำรุง การควบคุม และการประเมินผล 2.4) หลักสมชีวิตา ผู้บริหารควรบริหารงานอาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามความพอเพียง พอดี และพอประมาณ นำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนางานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในปีถัดไป

Article Details

How to Cite
พรหมศิริ อ., เมธีวรฉัตร อ. ., & ทองมั่น ว. . (2022). แนวทางการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 93–106. https://doi.org/10.14456/jra.2022.61
บท
บทความวิจัย

References

กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรพิพัฒน์.

ทรงพล ศรีนวล. (2558). การบริหารจัดการงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โรงเรียนพะทายพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

พระครูโพธิธรรมานุกูล (บรรเทา ชุดจีน). (2554). ศึกษาแนวทางการนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชนเพื่อแก้ปัญหาชีวิตของพุทธศาสนิกชนในสังคมไทยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คาวัด. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานกุรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

โรงเรียนทัพทันอนุสรณ์. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562. เข้าถึงได้จาก http://thapthan.ac.th/newweb/sar-school

โรงเรียนบ้านไร่วิทยา. (2562). ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียน. เข้าถึงได้จาก http://banraiwitthaya.ac.th/datashow_39380

วิรัตน์ ชมตะลุ. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เกณฑ์การขอใช้อาคารสถานที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 OBEC’S POLICY 2020. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก http://www.onesqa.or.th/upload/download/201704271505239.pdf

สุทธิ เพ็งปาน. (2537). โรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.

เสริมชัย เลิศศักดิ์พณิชย์. (2557). การบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเขต 6 อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อาภาพร ห่วงมาก. (2560). การศึกษาสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ของโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุดมพร อมรธรรม. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

Hikmat H. Ali, Hind M. Almomani and Muna Hindeih. (2009). Evaluating Indoor Environmental Quality of Public School Buildings in Jordan. Indoor and Built Environment, 18(1), 66-76.

Natasha Khalil, Syahrul Nizam Kamaruzzamanb, Mohamad Rizal Baharumb and Husrul Nizam Husina. (2015). Benchmarking Users’ Feedback as Risk Mitigation in Building Performance for Higher Education Buildings (HEB). Procedia - Social and Behavioral Sciences, 7(4), 171-180.