แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย

Main Article Content

ตระกูล จิตวัฒนากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย 2) ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนงานองค์กรการบินแห่งหนึ่ง จำนวน 8 คน ที่มาจากหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนขององค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย มีการสร้างความรู้ต่าง ๆ ให้กับพนักงาน โดยมีการจัดการเรียนรู้แบบ Online บุคลากรจะมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น มีการวัดและประเมินผลเพิ่มขึ้นได้ชัดเจน ประกอบกับมีการสร้างขวัญกำลังใจ 2) องค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย จะมีการมุ่งพิจารณาดังนี้ องค์ความรู้ ทักษะ แนวความคิดส่วนบุคคล ทัศนคติ และแรงจูงใจ และ 3) แนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ของสายการบินจะมีแนวทางในการให้การฝึกอบรมพนักงานผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยี และ Online ในสถานการณ์ปัจจุบันรวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้มาตรฐานภายใต้กฎหมายสมาคมสายการบินระหว่างประเทศ และการบินพลเรือนอย่างเคร่งครัด

Article Details

How to Cite
จิตวัฒนากร ต. . (2022). แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสายการบินในประเทศไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 83–92. https://doi.org/10.14456/jra.2022.60
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพิชญ์ หนูทองและไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินสายการบินต้นทุนต่ำท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14(1), 191-210.

กัลยาณี คูณมี. (2552). การบริหารผลงานและการจัดสรรสิ่งจูงใจต่อการพัฒนาระบบราชการและข้าราชการไทย. (รายงานการวิจัย). คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิรประภา อัครบวร และคณะ. (2552). การศึกษาเพื่อวางระบบการพัฒนาข้าราชการแห่งอนาคต. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.).

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 22-23.

สันติชัย อินทรอ่อน. (2552). ทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.