แนวทางการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตาม หลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7

Main Article Content

จริยพร แตงขุด
ปฏิธรรม สำเนียง
พระมหาอุดร อุตฺตโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และศึกษาแนวทางการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .97 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเทียบสัดส่วนและสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย t-test, F- test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ทั้ง 4 ด้าน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
(   = 4.20, S.D. = 0.40) พิจารณาจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการให้บริการชุมชน ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น และด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน พบว่า ผู้บริหารและครูที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 พบว่า 3.1) ด้านการให้บริการชุมชน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูแบ่งปันเพื่อให้บริการชุมชนทุกด้าน และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.2) ด้านการประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารสร้างองค์ความรู้ด้านการสื่อสาร ชี้แนะให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์สองทาง 3.3) ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น ผู้บริหารให้แนวปฏิบัติกับครูในการทำงาน เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมโดยการสร้างเครือข่าย 3.4) ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน ผู้บริหารมีแผนงานที่ชัดเจน มีการรายงานผลการดำเนินงานเพื่อความโปร่งใส (gif.latex?\bar{X} = 4.20, S.D. = 0.40) พิจารณาจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการให้บริการชุมชน ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น และด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน พบว่า ผู้บริหารและครูที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 พบว่า 3.1) ด้านการให้บริการชุมชน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูแบ่งปันเพื่อให้บริการชุมชนทุกด้าน และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.2) ด้านการประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารสร้างองค์ความรู้ด้านการสื่อสาร ชี้แนะให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์สองทาง 3.3) ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น ผู้บริหารให้แนวปฏิบัติกับครูในการทำงาน เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมโดยการสร้างเครือข่าย 3.4) ด้านการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน ผู้บริหารมีแผนงานที่ชัดเจน มีการรายงานผลการดำเนินงานเพื่อความโปร่งใส

Article Details

How to Cite
แตงขุด จ., สำเนียง ป. ., & พระมหาอุดร อุตฺตโร. (2022). แนวทางการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตาม หลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 . วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 107–116. https://doi.org/10.14456/jra.2022.62
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญใจ พุ้มโอ. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประกาย แก้วหัสดี. (2556). การบริหารงานความสัมพันธ์กับชุมชนโรงเรียนวัดท้องคุ้งไพโรจน์ประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.

รณกร ไข่นาค. (2561). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาสนา ชูแสง. (2557). การดำเนินงานการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12. (2561). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2561. เข้าถึงได้จาก http://secchonburi.go.th

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2562. เข้าถึงได้จาก http://site.google.com/site/nsecsite

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.

โสภา เหล่าตระกูลสวัสดิ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โรงเรียนเมืองพัทยา 1 สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษาหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ และสุพจน์ เกิดสุวรรณ์. (2564). การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 210-224.