แนวทางการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม ในสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระปวรวัฒน์ ฐานิสฺสโร
วรกฤต เถื่อนช้าง
ปฎิธรรม สำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม ในสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร และ 2) เสนอแนวทางการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4  ในอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .97 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากเปิดตารางแครซี่และมอร์แกน จำนวน 181 คน จากประชากรทั้งสิ้น 340 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยสังเคราะห์นำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา ในอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}   = 4.22) เมื่อพิจารณาจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านการวัดผลประเมินผล 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านเนื้อหา 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน และ 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม ในสถานศึกษา ตามหลักสังคหวัตถุ 4  ในอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร 1) ตามหลักทาน ประกอบด้วย อบรมความรู้ เกี่ยวกับรูปแบบการสอน ควรมีการให้กำลังใจในการทำงาน ในการทำงานการสร้างขวัญและกำลังใจ 2) ตามหลักปิยวาจา ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพในขณะพูดคุย ชี้แนะแนวทางในการทำงานต่าง ๆ 3) ตามหลักสมานัตตตา ประกอบด้วย ควรส่งเสริมให้มีการจัดแหล่งเรียนรู้ที่พร้อมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมคิดค้นผลิตปรับปรุงสื่อ ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาโดยพระสอนศีลธรรมควรมีการสอน 4) ตามหลักอัตถจริยา ประกอบด้วย เลือกรูปแบบการวัดประเมินผลให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สนับสนุนทุนในการซื้อเทคโนโลยีให้พระสอน

Article Details

How to Cite
พระปวรวัฒน์ ฐานิสฺสโร, เถื่อนช้าง ว. ., & สำเนียง ป. . (2022). แนวทางการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม ในสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 25–36. https://doi.org/10.14456/jra.2022.107
บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2560). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เสริมสินพรี เพรส ซิสเท็ม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กฤษมนต์ วัฒนาณรงค์. (2560) เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กิดานันท์ มลิทอง. (2561) เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทรานี สงวนนาม. (2562) ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท บุ๊คพอยท์ จำกัด.

ณัฎฐิกา ลิ้มเฉลิม. (2554). การศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาสามรูปแบบในสถานศึกษา. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระครูปริยัติธรรมาวุธ (วิรัช ตั้นซ้วน). (2548). บทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดกระบี่ ตรัง และพังงา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระมหาสมศักดิ์ ศรีบริบูรณ์. (2551). ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระสมพร อุชุธมฺโม. (2561). ศึกษาการบริหารงานวิชาการของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาจังหวัดพิจิตร เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 1(1), 69-82.

มนัส เพ็งหมู. (2559). ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงสภาพในการพัฒนางานบริหารงานบุคคลเชิงพุทธ ในสถานศึกษาอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2561) การประเมินผลการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อุดมศักดิ์ พลอยบุตร. (2545). ครูยุคใหม่...ครูยุคปฏิรูป. วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 5(1), 22-24.