การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ของโรงเรียนเฉพาะความพิการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน 2) พัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียนเฉพาะความพิการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ 3) ประเมินรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ และแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนเฉพาะความพิการ จำนวน 48 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเฉพาะความพิการ จำนวน 15 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การป้องกันและแก้ไข การพัฒนาและส่งเสริม และการส่งต่อ 2) รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียนเฉพาะความพิการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ดังนี้ 2.1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ความตระหนักรู้ของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำระบบฐานข้อมูลนักเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล และจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 2.2) การคัดกรองนักเรียน แบ่งเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา และกลุ่มความสามารถพิเศษ 2.3) การป้องกันและแก้ไข นิเทศ ติดตาม สนับสนุน ส่งเสริมความรู้และทักษะการแก้ปัญหาให้นักเรียนมีพฤติกรรมพึงประสงค์ 2.4) การพัฒนาและส่งเสริม ค้นหาความเป็นเลิศ/อัจฉริยะภาพและแสดงศักยภาพอย่างต่อเนื่อง สร้างแบบอย่างที่ดี/แรงบันดาลใจด้วยวิทยากรมืออาชีพ 2.5) การส่งต่อตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลที่กำหนด และ 3) ผลการประเมินรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียนเฉพาะความพิการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
การประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักสัปปุริสธรรม ๗ ประยุกต์กับขั้นตอนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาวางแผน รวบรวมแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และดำเนินชีวิตด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันให้เป็นวิถีชีวิต หรือหลักในการดำเนินชีวิต ทำให้ปัญหาสังคมก็จะทุเลาลดน้อยลง เยาวชนจะมีชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขสังคมก็จะไม่วุ่นวาย และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กนิษฐ์ฎา แก้วจินดา. (2560). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธงชาติ วงษ์สวรรค์. (2553). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพเกล้า ทองธรรมา และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 263-278.
พระมหาคมเพชร วชิรปญฺโญ. (2552). การนำหลักสัปปุริสธรรม7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟองจันทร์ กลิ่นสุคนธ์ และคณะ. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. วารสารบริหารนิติบุคคล และนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 154-170.
วิรัตดา วิชาพร.(2558). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ศิริพร สุจาดึก.(2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอพยุหะคีรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 183-198.
อภิญญา บุณยเกียรติ. (2563). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ.2563 (น.1245-1257). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.