การประเมินโครงการคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

Main Article Content

ณฐมน อนันต์
ปฏิธรรม สำเนียง
วรกฤต เถื่อนช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model 2) หาแนวทางการพัฒนาโครงการคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4วิธีดำเนินการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประเมิน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินโครงการคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เมื่อพิจารณาจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านบริบท ด้านประสิทธิผล ด้านผลกระทบ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และน้อยที่สุด ด้านความยั่งยืน 2) แนวทางการพัฒนาโครงการคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ด้านบริบท ควรพัฒนาโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ที่เกิดจากความต้องการด้วยความพอใจในสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ใส่ใจไม่เพิกเฉย พากเพียรในการประยุกต์หรือสร้างสื่อ อุปกรณ์ แผนโครงงาน งบประมาณ รวมทั้งสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ ให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนการดำเนินโครงการ และดำเนินการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการพิจารณาผลกระทบทั้งผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องนำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ทั้งนี้ควรสร้างความยั่งยืน พอใจ พากเพียรใส่ใจตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ไม่ละเลยในการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม โรงเรียนต้องมีการจัดตั้งชุมนุมส่งเสริมคุณธรรม มีประชาสัมพันธ์ส่งเสริมสนับสนุนคุณธรรม และสอดแทรกบูรณาการคุณธรรมไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกกิจกรรมเพื่อความต่อเนื่องในการให้ความรู้เรื่องคุณธรรม

Article Details

How to Cite
ANAN, N., วรกฤต เถื่อนช้าง ป. ส., & เถื่อนช้าง ว. . (2022). การประเมินโครงการคุณธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 265–278. https://doi.org/10.14456/jra.2022.123
บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2560). การประเมินโครงการค่ายพัฒนาและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย ประจำปี 2560. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

จักรี วงศ์อักษร. (2560). ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดลนภา การักษ์. (2556). การประเมินโครงการส่งเสริมเด็กดีมีคุณธรรม เข้าศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาวิทย์ กางการ และคณะ. (2564). การประเมินผลโครงการพัฒนาเด็กด้านคุณธรรมจริยธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(3), 167-180.

ปฏิวัติ ใจเมือง. (2564). การประเมินโครงการคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนขี้เหล็กพิทยาคม อำเภออาจสามารถ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 67-77.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: บริษัทเอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

พระมหารถศรี อินธิสิทธิ์ (ติกฺขปญโญ). (2563). การบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ต้นแบบ: กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชสกลนคร.

มนิดา เจริญภูมิ. (2559). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนแวงน้อยศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPPIEST. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและการประเมินผลการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชมหาสารคาม.

ยุวดี คำเงิน. (2561). การประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

วิระดา แก่นกระโทน. (19 เมษายน 2564). โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. (นางสาวณฐมน อนันต์, ผู้สัมภาษณ์).

สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.: มาตรฐานและตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Krejcie., R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.