การบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนม 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) หาแนวทางการบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกฟาร์มโคนม จำนวน 145 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบ Check List สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการโดยภาพรวมปฏิบัติองค์ประกอบมาตรฐานฟาร์มอยู่ในระดับมากทุกด้าน (= 4.30, S.D.=0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านคือ ด้านอาหารโคนมอยู่ในระดับมากที่สุด (=5.05, S.D.=0.45) รองลงมาคือด้านการจัดการฟาร์มอยู่ในระดับมาก (= 4.17, S.D.=0.28) ด้านการผลิตน้ำนมและการบันทึกข้อมูลฟาร์มอยู่ในระดับมาก (=4.15, S.D.=0.28) ด้านสุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อมฟาร์มอยู่ในระดับมาก (=4.09, S.D.=0.23) และด้านทำเลที่ตั้งฟาร์มโคนม แหล่งน้ำและสวัสดิภาพสัตว์อยู่ในระดับมาก (= 4.09, S.D.=0.23) มีค่าน้อยเฉลี่ยที่สุดตามลำดับ 2) ปัญหาอุปสรรค คือ 2.1) ด้านนโยบาย ภาครัฐขาดงบประมาณ ขาดการบูรณาการ มาตรฐานฟาร์มไม่เอื้อ 2.2) ด้านองค์องค์ประกอบมาตรฐานฟาร์ม ด้านสุขภาพ การบันทึกข้อมูล และด้านทำเลที่ตั้งฟาร์มโคนม แหล่งน้ำและสวัสดิภาพสัตว์ยังปฏิบัติน้อย และ 3) แนวทางการบริหารจัดการ คือ ปรับขนาดของฟาร์มให้เหมาะสม ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จีรวัฒน์ แพงแสน. (2560). การจัดการฟาร์มโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฐปนีย์ ธารทองทิพย์. (2559). สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จังหวัดราชบุรี กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 2(1), 121-147.
สมศักดิ์ รุ่งแก้ว. (2557). การบริหารจัดการมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมของเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สหกรณ์โคนมจังหวัดชัยภูมิ จำกัด. (2564). การวิเคราะห์แผนการดำเนินธุรกิจย้อนหลัง 3 ปี (ปริมาณการผลิตน้ำนมปี 2562-2564). รายงานบัญชีประจำปี ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564. (อัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.), (2547) เศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัส (18 กรกฎาคม 2517). บางพลัด เข้าถึงได้จาก http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/74
สุธิดา เชษฐสิงห์. (2558). การศึกษาระบบการผลิตโคนมและการพึ่งตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม: กรณีศึกษา ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 12: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. (น. 35-50). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.