การบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

กิติพร เศรษฐภูมิภักดี
พิทักษ์พงศ์ กางการ
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนม 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) หาแนวทางการบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกฟาร์มโคนม จำนวน 145 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบ Check List สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการโดยภาพรวมปฏิบัติองค์ประกอบมาตรฐานฟาร์มอยู่ในระดับมากทุกด้าน (gif.latex?\bar{X}= 4.30, S.D.=0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านคือ ด้านอาหารโคนมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=5.05, S.D.=0.45) รองลงมาคือด้านการจัดการฟาร์มอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.17, S.D.=0.28) ด้านการผลิตน้ำนมและการบันทึกข้อมูลฟาร์มอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.15, S.D.=0.28) ด้านสุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อมฟาร์มอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.09, S.D.=0.23) และด้านทำเลที่ตั้งฟาร์มโคนม แหล่งน้ำและสวัสดิภาพสัตว์อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.09, S.D.=0.23) มีค่าน้อยเฉลี่ยที่สุดตามลำดับ 2) ปัญหาอุปสรรค คือ 2.1) ด้านนโยบาย ภาครัฐขาดงบประมาณ ขาดการบูรณาการ มาตรฐานฟาร์มไม่เอื้อ 2.2) ด้านองค์องค์ประกอบมาตรฐานฟาร์ม ด้านสุขภาพ การบันทึกข้อมูล และด้านทำเลที่ตั้งฟาร์มโคนม แหล่งน้ำและสวัสดิภาพสัตว์ยังปฏิบัติน้อย และ 3) แนวทางการบริหารจัดการ คือ ปรับขนาดของฟาร์มให้เหมาะสม ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

How to Cite
Sretthaphumphakdi, K., กางการ พ. ., & แก้วโพนงาม ณ. . (2022). การบริหารจัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 71–84. https://doi.org/10.14456/jra.2022.85
บท
บทความวิจัย

References

จีรวัฒน์ แพงแสน. (2560). การจัดการฟาร์มโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐปนีย์ ธารทองทิพย์. (2559). สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จังหวัดราชบุรี กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 2(1), 121-147.

สมศักดิ์ รุ่งแก้ว. (2557). การบริหารจัดการมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมของเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สหกรณ์โคนมจังหวัดชัยภูมิ จำกัด. (2564). การวิเคราะห์แผนการดำเนินธุรกิจย้อนหลัง 3 ปี (ปริมาณการผลิตน้ำนมปี 2562-2564). รายงานบัญชีประจำปี ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564. (อัดสำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.), (2547) เศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัส (18 กรกฎาคม 2517). บางพลัด เข้าถึงได้จาก http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/74

สุธิดา เชษฐสิงห์. (2558). การศึกษาระบบการผลิตโคนมและการพึ่งตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม: กรณีศึกษา ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 12: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. (น. 35-50). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.