รูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมของวัดที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีพุทธในจังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมของวัดในทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาภูมิสถาปัตยกรรมของวัดที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีพุทธ และ 3) วิเคราะห์รูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมของวัดที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีพุทธในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 รูป ในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล พื้นที่การเรียนรู้และพื้นที่การพัฒนาและการท่องเที่ยวตามวิถีพุทธออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านกายภาพ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางด้านปัญญา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมของวัดในทางพระพุทธศาสนา ลักษณะวัดในสมัยพุทธกาล ลักษณะทางด้านกายภาพของวัดในสมัยพุทธกาลนั้นมีรูปแบบตรงกับหลักสัปปายะ เน้นความร่มรื่นเป็นหลัก มีเสนาสนะที่เหมาะสมและพอเพียง เน้นพื้นที่ทางธรรม หรือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อมุ่งเน้นการบรรลุมรรค ผล นิพพาน 2) ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีพุทธ วัดในสังคมไทยถือได้ว่าเป็นทรัพยากรและศิลปะทางศาสนาที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นจำนวนมาก ให้เข้ามาเที่ยวชมผลงานด้านภูมิสถาปัตยกรรม ปติมากรรม จิตรกรรม และงานด้านพุทธศิลป์ที่สวยงามอย่างยิ่ง ทั้งนี้รวมถึงการเข้าวัดไปทำบุญ กราบไหว้บูชาพระ ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถวายทาน ถวายสังฆทาน เป็นต้น และ 3) วิเคราะห์รูปแบบภูมิสถาปัตยกรรมของวัดที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีพุทธในจังหวัดเพชรบูรณ์ จากการศึกษาข้อมูลของวัดที่เลือกให้เป็นวัดกรณีศึกษา จำนวน 9 วัด มี 2 รูปแบบ 3.1)รูปแบบของการเป็นวัดที่เน้นส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ประเภทชมงานด้านภูมิสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา พุทธศิลปะ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ และทำบุญถวายสังฆทาน ไหว้พระขอพร 3.2) รูปแบบของวัดที่เน้นส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และให้มีการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมศิลปากร กองโบราณคดี. (2531). ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กรรณิกา คำดี. (2560). วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 175-191.
ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 113-128.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2543). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
จุฑาภรณ์ หินซุย และคณะ. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 50-58.
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2554). ตามสำรวจพุทธสถานในอินเดีย. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด.
ภัทรบท ฤทธิ์เต็ม. (2558). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 1-24.