หลักสังฆสามัคคีแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม

Main Article Content

พระครูนิรมิตสังฆกิจ
พระศรีสุทธิพงศ์
พระครูนิวุตถ์ประชากร พุ่มสละ
กิตติพัทธ์ โมราสุข

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้หลักสังฆสามัคคีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมไทย พบว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสังคมไทยเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาของความขัดแย้งทางสังคมถือว่าเป็นปัญหาเรื้อรัง และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า และการพัฒนาประเทศที่ล่าช้า ซึ่งสาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ตลอดจนความเชื่อ เป็นต้น จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทยในมิติต่าง ๆ เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง การแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การแสวงหาผลประโยชน์ ความเลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยคนจน เป็นต้น การขจัดปัญหาความขัดแย้งในสังคม ซึ่งกระบวนการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งคือ การหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยตกลงกัน ร่วมกันแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ภายใต้กรอบอันเป็นกติกาของสังคม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวแท้ที่จริงก็คือหลักการอันเป็นเนื้อหาสาระของสังฆสามัคคีนั่นเอง โดยยึดหลักสาราณียธรรม 6 ได้แก่ 1) เมตตากายกรรม 2) เมตตาวจีกรรม 3) เมตตามโนกรรม 4) สาธารณโภคิตา 5) สีลสามัญญตา 6) ทิฏฐิสามัญญตา เมื่อคนในสังคมปราศจากความขัดแย้ง สังคมก็จะเกิดความสงบสุข มีความสามัคคี รักใคร่ กลมเกลียว อันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและความผาสุกทางสังคมอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
พระครูนิรมิตสังฆกิจ, พระครูนิรมิตสังฆกิจ, พุ่มสละ พ., & กิตติพัทธ์ โมราสุข. (2022). หลักสังฆสามัคคีแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 263–274. https://doi.org/10.14456/jra.2022.74
บท
บทความวิชาการ

References

ธนัสถา โรจนตระกูล. (2562). การจัดการความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 69-83.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศิวะ ญาณเมธี (กาญบุตร). (2561). รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

พระอาจารย์วิมาน คัมภีรปัญโญ. (2565). ความขัดแย้ง: ทางเลือกสู่ความรุนแรงหรือทางเลือกอย่างสันติ. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/santiphaph2559/home/khw am-khad-yaeng.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 8(1), 5-15.

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 193-208.

Filley, A. (1975). Organization Behavior developing Management Skill. New York: Herper & Row Publisher.