แนวทางการสร้างความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานตาม หลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความพึงพอใจ 2) เปรียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) หาแนวทางการสร้างความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 6,828 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan และสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 364 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารงานทั่วไป 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน และอาชีพต่างกัน มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน 3) แนวทางการสร้างความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ดังนี้
1) ด้านการบริหารวิชาการ ผู้บริหารควรบริหารงานเน้นหลักการมีส่วนร่วม จัดทำหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการ 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรบริหารด้วยความโปร่งใส กระจายอำนาจ 3) ด้านการบริหารงานบุคคล ผู้บริหารควรมีการระดมทรัพยากรจากชุมชน จัดสรรสวัสดิการตามความเหมาะสม 4) ด้านการบริหารงานทั่วไป ควรให้ครู บุคลากร และนักเรียนร่วมรับผิดชอบดูแลสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
กันยาวีร์ สัทธาพงศ์. (2562). อรรถปริวรรต: การตีความปรัชญาหลังนวยุคกับพุทธปรัชญาสาราณียธรรม 6 เสริมสร้างสังคมคุณธรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 1-16.
พร้อมพันธ์ อินทวิเศษ. (2557). สภาพปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 391-403.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1.
วีรชาติ ชมภูหลง. (2554). การพัฒนาความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านสนาม อำเภอวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 9-16.
ศุภกิจ เชื้อเมืองพาน. (2555). การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุกรี เจริญสุข. (2560). การจัดทำยุทธศาสตร์และการพัฒนาดนตรีเพื่อความเป็นเลิศ. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2562). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 934-944.
สุนิรันดร์ รุ่งเรืองรณชัย. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 14(1), 76-92.
อมรา ไชยดำ. (2559). ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(61), 209-224.
อัครพล นกทอง. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 9(1), 1-12.