การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

พระครูวชิรคุณพิพัฒน์ (เอนก คุณวุฑฺโฒ)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักพุทธธรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาสภาพทั่วไป และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร โดยระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คน การสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 11 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักพุทธธรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ หลักสัปปุริสธรรม หลักอคติ หลักอปริหานิยธรรม หลักมัชฌิมาปฏิปทา หลักมรรคมีองค์ 8 และหลักสติ ส่วนทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการพัฒนาภาวะผู้ด้านการแลกเปลี่ยน การพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาภาวะผู้นำด้านจริยธรรม 2) สภาพทั่วไปของการมีภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อสภาพทั่วไปของการมีการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.37) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า พระสังฆาธิการมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาภาวะผู้นำอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ ได้แก่ หลักทุติยปาปณิกสูตร และสังฆโสภณสูตร คือ 3.1) จักขุมา การมีวิสัยทัศน์ต้องพัฒนาภาวะผู้นำด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 3.2) วิธุโร ความเชี่ยวชาญในการทำงานต้องพัฒนาภาวะผู้นำด้วยการสับเปลี่ยนการดำรงตำแหน่งตามวาระ 3.3) นิสสยสัมปันโน ความมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 3.4) วิยตโต ความสามารถ 3.5) วินีโต ระเบียบวินัย 3.6) วิสารโท คือ ความแกล้วกล้า 3.7) พหุสุโต การศึกษาไว้มาก และ 3.8) ธัมมานุธัมมปฏิปันโน การรักษาความถูกต้องในสิ่งที่ถูกที่

Article Details

How to Cite
พระครูวชิรคุณพิพัฒน์ (เอนก คุณวุฑฺโฒ). (2022). การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2022.130
บท
บทความวิจัย

References

กัญญา โพธิวัฒน์. (2548). ทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษา: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ: กุญแจสู่ความเป็นเลิศ. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิตติมา พงษ์ไพบูลย์. (2552). ภาวะผู้นำของพระเทพปริยัติเมธี (สฤษฏิ์ สิริธโร). (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช.

โชติ บดีรัฐ. (2554). การบริหารงานของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4 เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ฌาณ ตรรกวิจารณ์. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธงชัย สิงอุดม. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 8. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นฤนันท์ สุริยมณี และคณะ. (2554). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล. (รายงานการวิจัย). คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประยุทธ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิลัญ ปฏิพิมพาคม. (2550). รูปแบบภาวะผู้นำและประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พฺรหฺมรํสี). (2547). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาแบบยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2554). ตัวแบบสมรรถนะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.