คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

Main Article Content

พระสมุห์ผดุงศักดิ์ สนฺตจิตฺโต
พระมหาอุดร อุตฺตโร
ปฏิธรรม สำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและครูที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .978 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารและครูที่มีเพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรม ประกอบด้วย ด้านทักษะในการสอนพระสอนศีลธรรมควรทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอนพระสอนศีลธรรมควรสอนตามลำดับอยู่ในกรอบของหลักสูตรและมีวิธีการสอนที่ถูกต้อง ด้านบุคลิกภาพ พระสอนศีลธรรมควรดำรงสมณสารูปพร้อมทั้งมีจรรยาบรรณในการสอนและมีมารยาททางสังคมด้านมนุษย์สัมพันธ์ ควรประสานขอความร่วมมือระหว่างพระสงฆ์กับผู้บริหารสถานศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรมพระสอนศีลธรรม ต้องมีคุณลักษณะที่เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนในศีลธรรม

Article Details

How to Cite
jantaramanee, phrasamuphadungsak, พระมหาอุดร อุตฺตโร, ผศ. ดร, & ผศ.ดร.ปฏิธรรม สำเนียง. (2022). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 13–24. https://doi.org/10.14456/jra.2022.106
บท
บทความวิจัย

References

กันดิศ ชลสินธุ์. (2545). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะและความเป็นครู ของครูกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กาญจน์ธิดา สมใจ. (2550). บทบาทของครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จินตนา จริยานนท์. (2549). ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อพระสงฆ์ผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพ พันโสลี. (2550). บทบาทของครูในการส่งเสริมจริยธรรมให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนในอำเภอบ่อทอง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหาธีระพันธ์ อธิปญฺโญ (พวงจิตร). (2553). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560- 2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักงานนายกรัฐมนตรี.

สุเทพ พันโสลี. (2550). บทบาทของครูในการส่งเสริมจริยธรรมให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนในอำเภอบ่อทอง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie V. R. & Daryle W. M. (1970). Determining Sample Size for Educational Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.