แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7

Main Article Content

ญาณกร ช้อยนิยม
พระมหาอุดร อุตฺตโร
ปฏิธรรม สำเนียง
พระครูใบฎีกามณฑล (เขมโก ชูโตศรี)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะหลักครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะหลักครู ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .97 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 87 รูป/คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาสมรรถนะหลักครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 คือ 3.1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรให้ครูวางแผนการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.2) ด้านการบริการที่ดี ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ ปฏิบัติตนต่อผู้เรียนด้วยสำนึกว่าผู้เรียนคือผู้รับบริการ 3.3) ด้านการพัฒนาตนเอง ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูได้ไปศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาตนเองตามความรู้ความสามารถหรือสาขาวิชาที่ครูสอน 3.4) ด้านการทำงานเป็นทีม ควรจัดกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมแนะนำการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น 3.5) ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน และสังคม

Article Details

How to Cite
Choiniyom, Y., พระมหาอุดร อุตฺตโร, สำเนียง ป. ., & พระครูใบฎีกามณฑล (เขมโก ชูโตศรี). (2022). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 65–78. https://doi.org/10.14456/jra.2022.110
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 4. (2563). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการจัดการศึกษา ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กัญญาวรา ผลเจริญ. (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). วิธีวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ทันใจ.

ธนกฤต อั้งน้อย. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยนุช แสงนาค. (2559). สมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พระมหาพิชิต ธมฺมวิชิโต (ดุลยลา). (2561). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักอริยสัจ 4 สังกัดสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี). (2557). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสำหรับนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตามหลักกัลยาณมิตร. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อริยา คูหา และหริรักษ์ แก้วกับทอง. (2559). สมรรถนะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (รายงานการวิจัย). กองทุนคณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

McKim, A. J. et. Al. (2017). Analyzing the Relationship between Four Teacher Competence Areas and Commitment to Teaching. Journal of Agricultural Education, 58(4), 1-14.

Wahyuddin, W. (2017). Headmaster Leadership and Teacher Competence in Increasing Student Achievement in School. International Education Studies, 10(3), 215-226.