การศึกษาสภาพการดำเนินงานการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์

Main Article Content

วินัย ทาพันธ์
อดุลย์ วังศรีคูณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการใช้ตารางประมาณค่าของเครซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มโดยวิธีแบ่งชั้นภูมิตามจังหวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่กระจาย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา 52 คน และครูกลุ่มงานบริหารงานวิชาการ 52 คน รวมทั้งสิ้น 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เมื่อพิจารณารายด้านทุกด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ รองลงมา ด้านการวัดผลและประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และด้านการวัดผล ประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Article Details

How to Cite
Thaphan, W., & วังศรีคูณ อ. . (2022). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 37–50. https://doi.org/10.14456/jra.2022.108
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชรินทร์ เจริญไชย. (2557). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการประเมินตามสภาพจริงโดยประยุกต์ใช้การ ประเมินแบบเสริมสร้างพลังอำนาจ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไตรรงค์ เจนการ. (2550). เครื่องมือประเมินผลตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐาน.

ทิพย์เกสร กัมปนาท. (2558). การวัดและประเมินผลการศึกษา. เชียงใหม่: อินฟอร์ เมชั่น.

บรรจง น้อยทอง. (2548). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

พิเชษฐ์ สมชัย. (2551). ทำการศึกษาสภาพการดำเนินการวัดผลประเมินผลตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ราณี บุญมี. (2546). ประสิทธิผลการบริหารงานการวัดผลและประเมินผลโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2546). กระบวนการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุคพอยท์.