การประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร และ 2) หาแนวทางพัฒนาโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร ใช้การวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 108 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 260 คน ซึ่งได้มาโดยการเปิดตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม 3 ด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก คือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน รองลงมา คือ ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยเบื้องต้น ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกำแพงเพชร ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ทั้ง 3 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 2.1) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ควรจัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายที่กระทรวงกำหนด 2.2) ด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า โรงเรียนควรเป็นผู้จัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน และ 2.3) ด้านผลผลิต พบว่า สถานศึกษาไม่ควรจัดเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครองในส่วนที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตร: การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถนัด เดชทรัพย์. (2550). การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตามหลักธรรมาธิบาล. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นฤมล สุภาทอง. (2550). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.obec.go.th/.
อ่องจิต เมธยะประภาส. (2550). การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยวิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.