ระบบศาลในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ไทย

Main Article Content

พระมหาสุชาติ ธมฺมกาโม
พระครูสุภัทรกิจจานุการ
ฉัตรชัย แนวพญา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งอธิบายถึงระบบศาลและตุลาการ ของกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ ภายใต้กฎมหาเถรสมาคมและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2535 โดยนำเสนอลักษณะการปครองของคณะสงฆ์ ระบบศาล พยานหลักฐานและการแสวงหาความจริงในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ รวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองกับระบบตุลาการคณะสงฆ์ กล่าวถึงระบบการรวมอำนาจ คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ เข้าไว้ในตำแหน่งเจ้าคณะปกครองเพียงตำแหน่งเดียว ซึ่งเจ้าคณะปกครองจะมีอำนาจบริหาร ในขณะเดียวกัน สามารถออกคำสั่งทางการปกครอง และทำหน้าที่ตุลาการคณะสงฆ์โดยตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ การปกครอง หรือการพิจารณาคดี รวมถึงการลงนิคหกรรม (ลงโทษ) พระภิกษุ จึงเป็นไปเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางอำนาจในการปกครอง มากกว่าการพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น หากมีการแยกอำนาจตุลาการออกจากเจ้าคณะปกครอง ให้แก่รองเจ้าคณะปกครอง ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะปกครองได้ ถือเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าคณะปกครอง และเพิ่มบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ให้แก่รองเจ้าคณะปกครองมากขึ้น การถ่ายโอนอำนาจนั้นอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีการผลักดันจากเจ้าคณะปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
ธมฺมกาโม พ., พระครูสุภัทรกิจจานุการ, & แนวพญา ฉ. (2022). ระบบศาลในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 317–330. https://doi.org/10.14456/jra.2022.127
บท
บทความวิชาการ

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2553). คำอธิบาย หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอน ก่อนการพิจารณา. กรุงเทพ ฯ: พลสยาม.

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 พุทธศักราช 2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม.

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 พุทธศักราช 2541 ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์.

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 พุทธศักราช 2541 ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ.

กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์. (2559). พฤติกรรมอาชญากรในมุมมองทางจิตวิทยา :ศึกษากรณีทฤษฎีบุคลิกภาพ คดี Nathan Leopold และ Richard Loeb. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2(3), 318-392.

คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์, ไพบูลย์ ชูวัฒนกิจ. (2560). “ความจริง” ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย: มุมมองทางกฎหมายใน วรรณกรรมเรื่อง รากบุญ ของ ช่อมณี, วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(2), 23-46.

พระมหาอุทัย นิลโกสีย์. (2544). กระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (2535, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109, ตอน 106 ก. หน้า 5–11.

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. (2549). นิติศาสตร์ไทยเชิงวิพากษ์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุวัณชัย ใจหาญ. (2530). คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์.

อุดม รัฐอมฤต. (2558). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.