การสร้างแอพพลิเคชั่นให้กับเทศบาลตำบล เพื่อการบริหารจัดการรถรับ-ส่งผู้สูงอายุไปรักษาที่สถานพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการรถรับ-ส่งผู้สูงอายุไปรักษาที่สถานพยาบาลของเทศบาลตำบล และ 2) ประเมินผลแอพพลิเคชั่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ปัญหา โดยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการจัดรถรับ-ส่งผู้สูงอายุ และระบบการทำงานที่ใช้ในการบริหารจัดการ 2) การออกแบบโปรแกรม โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์มาเขียนอัลกอริทึม 3) การเขียนโปรแกรม การสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการรถรับ-ส่งผู้สูงอายุ ไปรักษาที่สถานพยาบาลของเทศบาลตำบล และ 4) การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เมื่อสร้างแอพพลิเคชั่นเสร็จ ได้ทำการทดลองการทำงานของแอพพลิเคชั่นกับชุมชน โดยทำการทดลองที่เทศบาลตำบลสลกบาตร จังหวัดกำแพงเพชร กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิคการแจกแบบสอบถามโดยบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัย พบว่า 1) แอพพลิเคชั่นในการการบริหารจัดการรถรับ-ส่งผู้สูงอายุไปรักษาที่สถานพยาบาลสำหรับเทศบาลตำบล ประกอบด้วย หน้าจอการเข้าแอพพลิเคชั่น หน้าจอการเรียกรถฉุกเฉิน และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และหน้าจอเมนูแอพพลิเคชั่นฯ และการจองคิวรถ รับ-ส่ง และ 2) การประเมินแอพพลิเคชั่นใช้แบบประเมินความคิดเห็นจากผู้ใช้แอพพลิเคชั่น พบว่า ด้านความสามารถของแอพพลิเคชั่นต่อผู้ใช้งาน ด้านการออกแบบแอพพลิเคชั่น และด้านประสิทธิภาพมีความพึงพอใจในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จิรวิญญ์ ดีเจริญชิตพงศ์, เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์, ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับระบบการขนส่งของบริษัทสี่สหายขนส่ง จำกัด บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(1), 60-68.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 47. (2545, 18 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 116 ก, หน้า 1.
พิชญา นิลรุ่งรัตนา. (2556) การศึกษาและออกแบบแอพพลิเคชั่นแบบอินเตอร์แอคทีฟสำหรับไอแพดเพื่อเป็นกรณีศึกษาสื่อแนะนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. (2557). การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง.
สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. (2554). แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น. วารสารนักบริหาร, 31(4), 110-115.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
mangoconsultant. (2015) Application แอพพลิเคชั่น คืออะไร. เข้าถึงได้จาก https:// www.mangoconsultant.com/