การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนาสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดราชบุรี จาก 10 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มาจากโรงเรียนที่ครูเป็นกลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร แบบทดสอบสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์สำหรับครู และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ครูส่วนใหญ่มีการดำเนินการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ในชั่วโมงชุมนุมคณิตศาสตร์ ชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และครูต้องการอบรมเชิงปฏิบัติการงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย หลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการเสริมสมรรถนะด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ สื่อ/อุปกรณ์ การวัดและการประเมินผล โดยผลการประเมินหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.41) 3) ผลการทดสอบสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ พบว่า หลังการอบรมครูมีสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) หลังจากที่ครูได้รับการอบรมตามหลักสูตรและได้นำไปสอนให้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์ นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กมลทิพย์ สมบัติธีระ และคณะ. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบของ van Hiele โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ช่วยในการเรียนรู้เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิพรัตน์ นพฤทธิ์. (2548). การพัฒนาการสอนโดยใช้การสอนแบบเปิด และผลการสอนที่มีต่อระดับการ คิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นักรบ ระวังการณ์. (2539). การจัดการอบรมและการเป็นวิทยากร. นครปฐม: โครงการการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุพิน กลัดล้อม. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนเรื่องโจทย์ปัญหาการบวกลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฺฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วิชาญ พันธุ์ประเสริฐ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อออกแบบบทปฏิบัติการที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิทยากร เชียงกูล. (2540). การศึกษาไทยยุคโลกาภิวัตน์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิภาพร งอยกุดจิก และหล้า ภวภูตานนท์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดย ใช้รูปแบบตามแนวคิดของ Van Hiele และใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรีรัตน์ ศิริโฉม. (2544). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนิเทศภายในโรงเรียนสำหรับครูโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศศิพันธ์ พัดสมร. (2540). ผลของการฝึกคิดเป็นกลุ่มตามแนวคิดของวิลเลี่ยมส์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2538). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. สารพัฒนา, 15(140), 45.
สันต์ ศูนย์กลาง. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
สุจิตรา โนมะยา. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบการสอน วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 205-216.
สุไบ บิลไบ. (2565). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 5 บท. เข้าถึงได้จาก https://drsumai binbai.files.wordpress.com/2017/02/report-classroom-action-research.pdf
Beach, D. S. (1970). Personnel: The Management of People at Work. (2nd ed.). New York: MacMillan.
Mary, M. E. (1990). Application of Van Hiele Model in Elementary Teacher Understandiog of Geometric Concepts and Improving their Attitudes Toward Teaching Geometry. SOUTH Florida Dissertation of University of SOUTH Florida.