ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในกลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน จำนวน 190 คนจากจำนวนประชากร 365 คน ซึ่งเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามมาตรการวัดของลิเคอร์ท โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่า .98 โดยสถิติที่นำมาใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าที รวมถึงนำไปทดสอบค่าความแปรปรวนเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์ ถ้าพบถึงความแตกต่างจึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน ด้านการวัดการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และด้านการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดตามลำดับ และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูมีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน สรุปผลได้ ดังนี้ 2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กอบชัย มณีตัน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับผลสำเร็จในการ ดำเนินงานตามพันธกิจของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ชัยรัตน์ ราชประโคน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ช่อกนก อาจศัตรู. (2561). การบริหารโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
นลพรรณ ศรีสุข. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
รัตนาภรณ์ มาคุ้ม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สมบัติ โพธิ์หล้า. (2562). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 360-365.
อรัญชนา หนูชูสุข. (2563). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเบตง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อัครเดช ยมภักดี. (2558). รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th Ed.). New York: Routledge.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.