การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พระมหาโยธิน ไกรษร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 และ 2) ศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านไร่ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  2) ความพึงพอใจ ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}   = 4.78, S.D. = 0.12)

Article Details

How to Cite
พระมหาโยธิน ไกรษร. (2022). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 15–24. https://doi.org/10.14456/jra.2022.131
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นรเศรษฐ์ สุวรรณอำไพ. (2559). การพัฒนาการเขียนสะกดคำ โดยใช้แบบฝึกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2543). ภาษาไทย 2000. กรุงเทพฯ: มติชน.

ผดุง อารยะวิญญู. (2546). วิธีสอนเด็กเรียนยาก. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

วรรณี โสมประยูร. (2542). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วัฒนา บุรกสิกร. (2551). การเขียนสะกดคำ. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th

สมศรี อภัย. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนีย์ แก้วของแกว. (2549). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกการประสมอักษร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัจฉรา เจตบุตร. (2554). การพัฒนาบทเรียนสื่อประสม เรื่อง การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.