ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4

Main Article Content

กิตติศักดิ์ แดงแท้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างข้าราชการสังกัดกองบิน 4 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ข้าราชการสังกัดกองบิน 4 จำนวน 300 คน จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ยามาเน่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา บรรยายลักษณะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้โดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการจัดการความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 พบว่า ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ มีการสร้างและแสวงหาความรู้ มีการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ และมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 พบว่า ปัจจัยในการจัดการความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร และการวัดผล ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 21.6 (R square = 0.216) และสามารถเขียนสมการถดถอยได้ดังนี้ Y ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4 = 2.871+ .182 (X3) + .145 (X4) โดยที่ X3 คือ เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร โดยที่ X4 คือ การวัดผล

Article Details

How to Cite
แดงแท้ ก. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกองบิน 4. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 191–202. https://doi.org/10.14456/jra.2022.145
บท
บทความวิจัย

References

ชโลทร รับพร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกรมกำลังพลทหารบก. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณิชพน เชื้อปรางค์ และธีรพจน์ เวศพันธุ์. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดการความรู้ของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพอากาศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 101-111.

ธนัช สังขพันธ์. (2562). การจัดการองค์ความรู้กับสมรรถนะของข้าราชการ และลูกจ้าง โรงงานเภสัชกรรมทหารศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

แผนกกำลังพล กองบังคับการ กองบิน 4. (2562). ข้อมูลจำนวนข้อราชการในสังกัด. เข้าถึงได้จาก https://wing4.rtaf.mi.th/wing4/index.php/finance-report/finance-report-2563.

สุกฤษฏิ์ อัญบุตร. (2560). การจัดการความรู้ของส่วนกำลังรบ สังกัดกองทัพอากาศ. (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรังสิต.

อัตรากำลังพลกองบิน 4. (2564). กำลังพลกองบิน 4. เข้าถึงได้จาก https://wing4.rtaf.mi. th/wing4/#.

พลิศร วุฒาพาณิชย์และคณะ. (2561). การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 6(3), 29-42.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.