การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยใช้นาฏยประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม

Main Article Content

นิธิพรรณ มูสิกอุปถัมภ์
วีระ วงศ์สรรค์
ธนาดล สมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2) หาความก้าวหน้าทางการเรียนเรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยใช้นาฏยประดิษฐ์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย  จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยหลังจากวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์รวมคิดเป็นร้อยละ 91.5 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ร้อยละ 80 2) ความก้าวหน้าทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์ มีผลเท่ากับ 0.8338 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้มากกว่าร้อยละ 50 3) นักเรียนที่เรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนที่เรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้นาฏยประดิษฐ์ มีความพึงพอใจมากกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
Musikaupatham, N., วงศ์สรรค์ ว. ., & สมบูรณ์ ธ. . (2022). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยใช้นาฏยประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 233–248. https://doi.org/10.14456/jra.2022.148
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.

จีรพรรณ ยี่หร่า. (2559). รายงานการพัฒนาชุดการสอน วิชานาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (อัดสำเนา).

จุฑาธิป จันทรพงษ์พิวัฒน์. (2558). รายงานการพัฒนาชุดการสอนวิชา ศ 23101 (นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดสตูลสัตยาราม จังหวัดสตูล. (อัดสำเนา).

ทิพยา เอี่ยมอ่ำ. (2550). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (อัดสำเนา).

นิธิพรรณ มูสิกอุปถัมภ์. (2561). ลวงฟ้าพญาแถน. (ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ภาควิชานาฏยศิลป์). คณะศิลปกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศันสนีย์ อินทรสมบัติ. (2557). รายงานการพัฒนาชุดการสอน วิชา ศ 22101 (นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. (อัดสำเนา).

สวภา เวชสุรักษ์. (2547). หลักนาฏยประดิษฐ์ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย). คณะศิลปกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1970). Essential of Psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.