การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตพิมานปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสานกับการจัดการเรียนสอนแบบปกติ และ 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสานกับการจัดการเรียนสอนแบบปกติ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการจับฉลากสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ จำนวน 3 ห้องเรียน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจับ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.33 2) ค่าความก้าวหน้าทางการเรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน คิดเป็นร้อยละ 68.38 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความพึงพอใจโดยรวมมากกว่านักเรียนที่ได้เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรพรรณ ตันติเวชกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการรับสาร สำหรับนักเรียนจ่าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 8, 11-24.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการเปิดเรียน On site. เข้าถึงได้จาก https://drive.google. com/file/d/1CHRDdjCGcNSDr1JxKeo6kybynDx_KdnR/view
กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 29-43.
ปิยะนุช เถาหมอ. (2562). ผลของบทเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมษา นวลศรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 77-94.
วลัย ตันติวิชญ์โกศล. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานด้วยเทคนิค GRIS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุจิตรา เขียวศรี. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตรโดยใชการช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). เตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โพสต์ทูเดย์.