รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อ พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 3 เพื่อประเมินรูปแบบ ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้แบบประเมิน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า 1) ด้านการวางแผนตามหลักฉันทะ มี 1 รูปแบบ ตามหลักวิริยะ มี 1 รูปแบบ ตามหลักวิมังสา มี 4 รูปแบบ 2) ด้านการจัดองค์กร ตามหลักฉันทะ มี 2 รูปแบบ ตามหลักวิริยะ มี 1 รูปแบบ ตามหลักจิตตะ มี 1 รูปแบบ และตามหลักวิมังสา มี 1 รูปแบบ 3) ด้านภาวะการเป็นผู้นำ ตามหลักฉันทะ มี 6 รูปแบบ ตามหลักวิริยะ มี 2 รูปแบบ ตามหลักจิตตะ มี 2 รูปแบบ ตามหลักวิมังสา มี 5 รูปแบบ และ 4) ด้านการควบคุมองค์กร ตามหลักฉันทะ มี 2 รูปแบบ ตามหลักวิริยะ มี 1 รูปแบบ ตามหลักจิตตะ มี 2 รูปแบบ ตามหลักวิมังสา มี 2 รูปแบบ และผลการประเมินรูปแบบ คิดเป็นร้อยละ 100 ทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานพันธกิจด้านการปฏิรูปการศึกษาผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ทรงพร พนมวัน ณ อยุธยา. (2562). การประเมินตามสภาพที่แท้จริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บังอร เสรีรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา.วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 115-122.
พระมหาบัญญัติ สุจิตฺโต และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(3), 254-265.
สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุรินทร์ สำลี. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.