การตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค

Main Article Content

อสมาภรณ์ กล่อมจิตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane จำนวน 369 คน จากประชากรที่เป็น ผู้ประกันตน มาตรา 40 ของอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 4,774 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ .968 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .826 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ t-Test และ F-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) การตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ในด้านภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 2) การเปรียบเทียบการตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลเมื่อจำแนกตามอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำแนกตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว พบว่า ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามโรคประจำตัว พบว่า ในภาพรวม ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักประกันสังคม มาตรา 40 พบว่า ในภาพรวมและในรายด้าน ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
Klomjitr, A. (2022). การตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบ กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสระบุรี สาขาหนองแค. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 111–122. https://doi.org/10.14456/jra.2022.139
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2560-2564. เข้าถึงได้จาก http://www.mol.go.th

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th

จังหวัดสระบุรี. (2564). ประวัติความเป็นมาอำเภอหนองแค. เข้าถึงได้จาก http://www.saraburi.go.th

สุชาติ เปรมสุริยา และจุฬารัตน์ วัฒนะ. (2560). การศึกษาแนวทางการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 40. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 51-57.

ธมนวรรณ บุญรักษา. (2556). การตัดสินใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2542 มาตรา 40 ของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญภรณ์ เรือนดี. (2558). การรับรู้และการเข้าร่วมในระบบหลักประกันสังคมแบบสมัครใจ (มาตรา 40). (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักเสริมสร้างความมั่นคงแรงงานนอกระบบ. (2564). ข้อมูลจำนวนผู้ประกันตน มาตรา 40. เข้าถึงได้จาก http://www.m40.sso.go.th.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสระบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสระบุรี ปี 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.saraburipao.go.th

สุพิศาล แพลือ. (2563). ความต้องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 40 กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มอาชีพหาบเร่แผงลอยหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาภรณ์ กิ่งคำ. (2550). การตัดสินใจเข้าสู่ระบบประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ ประเภทของผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตจตุจักร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ). คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Best, J. W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.