การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร

Main Article Content

นิรมล รอดไพ
วรกฤต เถื่อนช้าง
ปฏิธรรม สำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ 2) พัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร 3) ประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการสังเคราะห์เอกสารรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การพัฒนารูปแบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหาร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 11 คน ดำเนินการจัดสนทนากลุ่ม ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา 3) ประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหาร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและประโยชน์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของรูปแบบการประกันคุณภาพภายใน มีรูปแบบการบริหารงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) 2) การพัฒนารูปแบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร มีทั้งหมด 3 ด้าน 9 รูปแบบ 95 กิจกรรม ใช้การบริหารงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ร่วมกับ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การสร้างเครือข่ายของทุกฝ่าย การกระจายอำนาจสู่ทุกฝ่าย การสร้างความรับผิดชอบ และเน้นหัวใจหลักในการใช้หลักทุติยปาปณิกสูตร 3) ผลการประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรตามความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและประโยชน์ ทั้ง 3 ด้าน ทั้ง 9 รูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
RODPAI, N., เถื่อนช้าง ว. ., & สำเนียง ป. . (2022). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 75–86. https://doi.org/10.14456/jra.2022.136
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2564). พระบรมราโชวาท. เข้าถึงได้ที่ https://rdsrv2.rd.go.th/royal/royal.

“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 49-53.

กิตติ์ดนัย แจ้งแสงทอง. (2564). รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 302-317.

ขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์. (2563). การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

เจนจบ หาญกลับ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวงของโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานครประสบความสำเร็จ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

เฉลิมพร กุมภา. (2564). รูปแบบการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 29-46.

บุญพรม จารุปญฺโญ. (2564). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เขตจังหวัดภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(2), 3.

พระมหากิตติศักดิ์ สิริวฑฒฺโก (หนูสุรา). (2561). การพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสนาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวทิวา นามคุณ. (2559). การสังเคราะหงานวิจัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญพรม จารุปญฺโญ. (2564). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เขตจังหวัดภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(2), 3.

วาสนา คำห้วยหาญ. (2559). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 69-83.

วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมนครสวรรค์. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ.2562. เข้าถึงได้จาก http://www. secondary42.obec.go.th/OIT64/OIT-ITA/PLAN/pan%2061-65.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.