แนวทางการบริหารการศึกษาของผู้นำทางศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

แพรวนภา แจ่มจำรัส
ปฏิธรรม สำเนียง
วรกฤต เถื่อนช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาของผู้นำทางศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ และ 2) สังเคราะห์หลักธรรมในการบริหารจัดการด้านการศึกษาของผู้นำทางศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารการศึกษาของผู้นำทางศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย  4 ด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.61, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงบประมาณ 2) ด้านการบริหารทั่วไป 3) ด้านการบริหารบุคคลและด้านที่น้อยที่สุด 4) ด้านการบริหารวิชาการ และ 2) สภาพการบริหารการศึกษาของผู้นำทางศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า 2.1) ด้านการบริหารงบประมาณหลักธรรมสำคัญที่ทุกศาสนาใช้ในการบริหารจะเน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต 2.2) ด้านการบริหารทั่วไป หลักธรรมที่ทุกศาสนาใช้จะเน้นเรื่องความเสียสละเช่นการระดมทรัพยากรและการบริจาคในด้านต่าง ๆ 2.3) ด้านการบริหารบุคคล หลักธรรมที่ทุกศาสนาใช้จะเน้นเรื่องการอยู่ร่วมกันให้มีความสุขโดยใช้หลักธรรมของแต่ละศาสนาเข้ามามีบทบาทในการเข้าสังคมโดย และ 2.4) ด้านการบริหารวิชาการ ครูและผู้บริหารจะเน้นเรื่องการสอนหลักธรรมของแต่ละศาสนาให้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของนักเรียนในชีวิตประจำวัน

Article Details

How to Cite
แจ่มจำรัส แ. ., สำเนียง ป. ., & เถื่อนช้าง ว. . (2023). แนวทางการบริหารการศึกษาของผู้นำทางศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 221–232. https://doi.org/10.14456/jra.2023.16
บท
บทความวิจัย

References

อับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ (2561). ภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจามัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธีรวัชร แสงจง และคณะ. (2562). การศึกษามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตุโต). (2545). ความสุขทุกแง่มุม. กรุงเทพฯ: ผลิธัม.

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2555). ก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ปี ค.ศ.2012-2015. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อธิวัฒน์ พันธรัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.