การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

นงลักษณ์ ใจฉลาด
อนันต์ นามทองต้น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี มี 2 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกและแบบสังเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 122 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึก และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์และเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 คำนวณค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และคำนวณหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีจำนวน 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.1) การบริหารจัดการแบบร่วมมือ 1.2) การกำหนดนโยบายโดยมีส่วนร่วม 1.3) การจัดหลักสูตรเชิงบูรณาการ 1.4) การจัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม 1.5) การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา และ 1.6) การตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ มีจำนวน 17 องค์ประกอบย่อย จำนวน 64 รายการ และ 2) ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า มีการปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบหลัก โดยองค์ประกอบหลักที่ 6 การตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ องค์ประกอบหลักที่ 4 การจัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม องค์ประกอบหลักที่ 2 การกำหนดนโยบายโดยมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติการบริหารจัดการต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน

Article Details

How to Cite
ใจฉลาด น., & นามทองต้น อ. . (2022). การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา . วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 277–288. https://doi.org/10.14456/jra.2022.151
บท
บทความวิจัย

References

กรมสงเสริมการปกครองทองถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2559). คูมือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ “โรงเรียนพอเพียงทองถิ่น” (Local Sufficiency School: LSS). (อัดสำเนา).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวทางการนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กานต์ชนิต ต๊ะนัย. (2551). การน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในโรงเรียนบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา). บัณฑิตวิยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณพิชญา วาจามธุระ. (2552). กระบวนการพัฒนาและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ชุมชนจาก 4 ภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากร). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ณรัชช์อร ศรีทอง. (2556). แนวคิด หลักการ และการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต1. (2563). รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมราพร บุญให้ และทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(1), 109-124.