ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

อาภาวี เรืองรุ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยแรงจูงใจ 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและ 3) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของยามาเน่ คือ บุคลากรของเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำนวน 135 คน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากประชากรจำนวน 203 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .984 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงานมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทาย และด้านความรับผิดชอบในงานน้อยที่สุด ด้านปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านความมั่นคงในงานน้อยที่สุด 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านคุณภาพของงานมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และด้านปริมาณงานน้อยที่สุด และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พบว่า ด้านปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความรับผิดชอบในงาน สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 12.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ การปกครองบังคับบัญชาและสถานภาพในการทำงาน สามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 24.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้


       ด้านปัจจัยจูงใจ  = 3.407+0.384 (ความรับผิดชอบในงาน)


       ด้านปัจจัยค้ำจุน = 4.106+0.370 (การปกครองบังคับบัญชา) + 0.238 (สถานภาพในการทำงาน)

Article Details

How to Cite
เรืองรุ่ง อ. . (2023). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 243–254. https://doi.org/10.14456/jra.2023.18
บท
บทความวิจัย

References

จิรพงษ์ อินคล้ำ. (2562). ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 28-40.

เทศบาลตำบลโคกสำโรง. แผนอัตรากำลัง 3 ปี เทศบาลตำบลโคกสำโรง ประจำปีงบประมาณ 2564-2566. (อัดสำเนา).

พรเพชร บุตรดี. (2563). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (สารนิพนธรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สาธิต แก้วทิ้ง. (2560). แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทยฝ่ายควบคุมจราจร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธนบุรี.

สิรภพ เจริญยิ่ง. (2561). แรงจูงใจกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหาร กรมพลาธิการทหารบก. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

สุรพงษ์ มาลี. (2554). บทวิเคราะห์ประกอบการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ..... กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Frederick, H. et al. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & Sons.

Yamane, T. (1967). Statistic: and introductory analysis. New York: Harper and Row.