การจัดการความปลอดภัยของวัดโสธรวรารามวรวิหาร

Main Article Content

ณัฐญา ทองรัตน์
วีรพล กุลบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดโสธรวรารามวรวิหาร 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการที่มีต่อการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดโสธรวรารามวรวิหาร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นต่อการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัด
โสธรวรารามวรวิหาร และ 4) ศึกษาแนวทางการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ จำนวน 452 คน และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการความปลอดภัยของวัดโสธรวรารามวรวิหาร จำนวน 6 คน พบว่า 1) สภาพปัญหาในการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นปัญหาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ คือ มีมุมอับสายตาที่ง่ายต่อการเกิดอาชญากรรม 2) ระดับความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก พบว่าการจัดการด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนอยู่ในระดับความคิดเห็นที่น้อยที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดโสธรวรารามวรวิหารแตกต่างกัน 4) แนวทางการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดโสธรวรารามวรวิหารมีการบริหารที่เน้นทั้งเชิงรับและเชิงรุกบูรณาการร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยให้สอดรับกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านบุคคล ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านอุบัติเหตุ เพื่อทำให้ระบบการรักษาความปลอดภัยมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ทองรัตน์ ณ. ., & กุลบุตร ว. . (2023). การจัดการความปลอดภัยของวัดโสธรวรารามวรวิหาร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 231–246. https://doi.org/10.14456/jra.2023.41
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2565). คู่มือการบริหารงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม. เข้าถึงได้จากhttps://www.docdroid.net/Zk8lz0E/manual-1.pdf.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). City Data Platform. เข้าถึงได้จาก https://catalog. citydata.in.th/dataset

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Fayol, H. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.

Imbeah, N., & Bujdoso, Z. (2018). Tourist Safety and Security in the Central Region of Ghana-Overview and Case Study. Ecocycles, 4(2), 33-45.

Jeffery, R.C. (1977). Crime Prevention through Environmental Design. (Second Edition). Beverly Hills, CA: Sage.

Mthembu, N. (2009). Tourism Crime, Safety and Security in the Umhlathuze District Municipality, Kwazulu-Natal. Master Thesis, University of Zululand. (Dissertation of the Faculty of Arts). the Department of Recreation and Tourism: University of Zululand.