ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพัก รอบมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา หอพักรอบมหาวิทยาลัยมหิดลพื้นที่วิทยาเขตศาลายา

Main Article Content

ตรีมินทร์ หิรัณย์ภาณุสิน
พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพักรอบมหาวิทยาลัย และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพักรอบมหาวิทยาลัย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 400 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.66-1.00 และค่าความเชื่อมั่น .953 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และหาความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการหา LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพักรอบมหาวิทยาลัยในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันและระงับการเกิดอัคคีภัย ด้านการบรรเทาสาธารณภัย และ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพักรอบมหาวิทยาลัย จำแนกตามตัวแปรเพศ และตัวแปรชั้นปีที่กำลังศึกษา พบว่า เพศที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพักรอบมหาวิทยาลัยไม่ต่างกัน ในขณะที่นักศึกษาที่มีชั้นปีที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพักรอบมหาวิทยาลัย ด้านการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัย และด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนี้ 1) ด้านการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 มีความคิดเห็นสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 นอกจากนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความคิดเห็นสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 2) ด้านการดูแลรักษาความปลอดภัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความคิดเห็นสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4

Article Details

How to Cite
หิรัณย์ภาณุสิน ต. ., & ภักดีณรงค์ พ. . (2023). ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของหอพัก รอบมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา หอพักรอบมหาวิทยาลัยมหิดลพื้นที่วิทยาเขตศาลายา . วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 177–190. https://doi.org/10.14456/jra.2023.13
บท
บทความวิจัย

References

เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์. (2549). ความรู้พื้นฐานเรื่องการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทองเรียน อมรัชกุล. (2525). การบริหารกิจการนิสิต ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.

ธนัชพร เลิศเดชเดชา. (2557). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกหอพักเอกชนของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น

พีรพัฒน์ ปิงใจและภานุพงศ์ ช่ำชองกิจ. (2552). การจัดการจราจรพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกรณีพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก https://civil.eng.cmu.ac.th /research/in/2552/370.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552) มาตรการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552. เข้าถึงได้จาก https://la.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/ fileload/pdf-59f0461830e087.23123780.pdf.

สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา. (2563). ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา ในคู่มือการดำรงชีพในสหรัฐอเมริกา. เข้าถึงได้จาก http://www.oeadc.org/Miscellan eous/StudentManual/Safety.

หอพักรอบมหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). แผนผังแสดงที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษา บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา. เข้าถึงได้จาก http://m.facebook.com/dormitory student.mahidol.

Nation Online. (2564). สน.บางนา รวบโจรกรุงตระเวนลักทรัพย์ตามหอพัก หลายพื้นที่ พบประวัติโชกโชน หากมีผู้เสียหายรายใดถูกคนร้ายรายนี้ก่อเหตุสามารถติดต่อ สน.บางนา. เข้าถึงได้จาก https://www.nationtv.tv/news/378844303

PPTV Online. (2564). คนร้ายบุกหอพัก นร.หญิง ตระเวนเปิดประตูห้องลวนลามกลางดึก ตร.เชื่อคนในพื้นที่. pptvhd36 เข้าถึงได้ จาก https://www.pptvhd36.com/news/%